OK, โพสต์นี้อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับ Skill Assessment เราไม่รู้ แต่เอาเป็นว่า เรามาทำความรู้จักและเข้าใจการอ่าน payslip กันหน่อยดีกว่า
อันนี้คือ payslip จริง
case จริง ของพนักงาน P' J นะครับ
ที่บริษัทเรา เราจ่ายค่าแรงพนักงานทุก ๆ week
บางที่จ่ายทุก ๆ 2 weeks ก็ไม่ผิดนะครับ
แต่ทุกครั้งที่จ่ายค่าแรงให้กับพนักงาน
พนักงานจะต้องได้รับ payslip ครับ
นายจ้างจะบอกว่าตอนนี้ ATO ใช้ระบบ Single Touch Pay และ link ข้อมูลทุกอย่างเข้ากับ ATO แล้ว ก็เลยไม่มี payslip อันนั้นถูกแค่ครึ่งเดียวครับ
เพราะระบบ Single Toch Pay มันจะส่งแค่ผลรวมของรายได้ต่อปีของพนักงานเข้ากับ ATO
มันไม่ได้แยกออกมาเป็น week-by-week ซะหน่อย
แล้วพนักงานจะรู้ได้ยังไงว่า week นี้เขาโดนหักภาษีไปเท่าไหร่ week นี้เขาควรจะได้รับเงิน supperannuation เท่าไหร่
ถ้าไม่มี payslip พนักงานก็ไม่มีข้อมูลตรงจุดนี้ครับ
ซึ่งเราคิดว่ามันไม่แฟร์กับพนักงาน
และ payslip มันก็แค่กดปุ่มส่ง email ในระบบ XERO, Quickbooks หรือ MYOB แค่นั้นเอง
เอาจริง ๆ นะครับ มันไม่ได้ยากเลย!!!!
P' J เป็นคน generates payslip ให้กับทีมงานทุก ๆ week เอง
ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร
ข้ออ้างไม่ต้องเยอะ
ไม่ว่าองค์กรจะน้อยหรือใหญ่ เรื่องพวกนี้ต้องไม่มีข้ออ้างนะครับ ใจเขาใจเรา ทำอะไรให้มันถูกต้องแล้วชีวิตจะง่าย
เดี๋ยวเรามาดู payslip ของพนักงานคนนี้กันนะครับ
เป็น payslip จริง
case จริง, ทีมงานของ P' J เอง
1. ค่าแรงของ week นี้ $3,300
2. โดนหักภาษีไป $1,331 (ระบบ XERO, Quickbooks หรือ MYOB จะคำนวณให้เอง)
3. รายได้ที่เขาได้รับ หลังจากหักภาษีแล้ว: $1,969 (net pay)
4. 11% supperannuation on top ของค่าแรง: $363
สิ่งที่ควรรู้คือ:
1. ที่โดนหักภาษีไป $1,331 เงินตรงนี้ไม่ได้หายไปไหนนะครับ คือนายจ้างจะต้องจ่าย $1,331 ภาษีล่วงหน้าเข้าไปที่ ATO แทนพนักงาน พอสิ้นปี วันที่ 30 June ของทุก ๆ ปี ระบบของ ATO ก็จะคำนวณเองว่าภาษีที่นายจ้างหักจ่ายให้กับพนักงานไปล่วงหน้าทุก ๆ week นั้น มันเยอะหรือน้อยเกินไปหรือเปล่า ถ้าเยอะเกิน พนักงานก็ทำเรื่อง claim คืนกลับมา ก็แค่นั้นเอง มันก็คือเงินของพนักงานแหละ ถ้าน้อยเกิน พนักงานก็ต้องจ่ายภาษีเพิ่มให้กับ ATO แค่นั้นเอง มันง่ายแค่นี้เองจริง ๆ ครับ อย่าซิกแซ็กให้ซับซ้อน
2. 11% superannuation อันนี้คือเงินสะสมของพนักงานที่นายจ้างต้องจ่าย ก็น่าจะเหมือนเงินประกันสังคมที่เมืองไทยหรือเปล่า เราไม่แน่ใจ หลาย ๆ ประเทศมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ที่สิงคโปร์ก็เรียกว่า CPF (Central Provident Fund) เงิน 11% supperannation ตรงนี้นะครับ นายจ้างต้องจ่าย on top ของค่าแรงนะครับ ไม่ใช่ไปหักออกจากค่าแรงของพนักงาน ดังนั้นบริษัทเราเองก็ต้องจ่ายเงิน supperannuation $363 อาทิตย์นี้
อาทิตย์หนึ่ง ๆ บริษัทเราจ่าย superannuation ให้กับทีมงานค่อนข้างเยอะครับ แต่มันสบายใจมากบอกเลย ใจเขาใจเรา คนทำงานเขาก็อยากได้อะไรที่มันถูกต้อง ที่มันโปร่งใส ที่มันตรวจสอบได้
และที่สำคัญพนักงานก็สามารถใช้เงินใน supperannation ซื้อประกันชีวิตได้ครับ เราได้โพสต์เรื่องนี้ไปแล้ว
ทุกคนที่ทำงาน ต้องมี payslip นะครับ
ยิ่งต้องต่อยอดชีวิตในการทำวีซ่าอะไรต่าง ๆ แล้ว ทุกอย่างต้องเข้าระบบ แล้วชีวิตจะง่าย
หลังจากนั้นนะครับ จะซื้อบ้าน จะกู้เงินอะไร มันก็ง่ายไปหมด
เรื่อง payslip, เรื่องการเสียภาษี กรุณาติดต่อ accountant นะครับ เราแค่ให้ข้อมูลเบื้องต้น เพราะเราเห็นลูกค้าเราหลาย ๆ คนที่จะทำวีซ่า หรือจะทำ Skill Assessment มีปัญหาเรื่องนี้กันเหลือเกิน เห็นแล้วปวดใจแทน
ฝากเอาไว้ให้คิดนะครับ
ชีวิตต้องง่าย
ถ้าไม่ง่ายแสดงว่าไม่ใช่
No comments:
Post a Comment