Saturday, February 27, 2016

Partner Visa ของออสเตรเลีย ตอนที่ 4; มีลูก ติดตามหรือไม่ติดตามดีนะ


เดี๋ยววันนี้เรามาเรียนรู้กันนะครับว่า การที่เรามีลูกติดเนี๊ยะ ไม่ว่าจะยื่นที่ออสเตรเลียแบบ onshore หรือยื่นมาจากข้างนอกประเทศเป็นแบบ offshore แต่ละแบบ แต่ละประเภท การที่เรามีลูกติดแล้ว เราจะยื่นแบบใหน ทำอะไรได้บ้าง

คำว่าลูกติดในที่นี้หมายถึงลูกที่ได้มาจากการมีคู่ครองมาก่อนหน้านี้ และรวมไปถึงลูกบุณธรรมด้วยนะครับ

ลูกติดไม่เกี่ยวอะไรกับกับลูกที่เกิดจากคนที่เขาทำเรื่องสปอนเซอร์ให้เรานะครับ เพราะนั่นเราไม่เรียกว่าลูกติด

ถ้าเราไม่มีลูกติด เราก็สามารถยื่น Partner Visa ได้เลย ทั้งแบบ onshore และ offshore ตามที่เราได้เขียน blog เอาไว้คราวก่อน

แต่ถ้าเรามีลูกติดที่อายุไม่เกิน 25 ปีแล้วอยากจะทำเรื่องสปอนเซอร์ เอาลูกมาอยู่ที่ออสเตรเลียด้วย มันก็สามารถทำได้หลายแบบ หลายวิธีคือ

1. ทำเรื่องพร้อมๆกัน:
ไม่ว่าเราจะยื่นแบบ onshore หรือ offshore ถ้าเราอยากจะทำเรื่องให้ลูกเราไปด้วยพร้อมๆกันกับเราไปเลย เราสามารถทำได้ดังนี้:

  • ถ้าเรายื่นเรื่อง offshore, ลูกเราก็ต้องอยู่ offshore ด้วยเหมือนกัน
  • ถ้าเรายื่นเรื่อง onshore, ลูกเราก็ต้องอยู่ onshore ด้วยเหมือนกัน

แต่ก็มีหลายคนที่เลือกที่จะเอาลูกมาทีหลัง เพราะตัวเองก็คงอยากจะมาปรับตัวก่อน หรืออาจจะได้เหตุผลทางด้านการเงิน หรือกฏหมายการดูแลลูกที่ยังสะสางกับคดีเก่ายังไม่เสร็จก็มี หรือเหตุผลอะไรต่างๆกันออกไป แต่ละคนจะมีเหตุผลที่แตกต่าง

2. ทำเรื่องแยกกัน:
ถ้าหากเราและลูกเลือกที่ทำเรื่องแยกกัน ไม่ว่าเราจะทำเรื่อง Partner Visa แบบ Onshore หรือ Offshore ก็ตามแต่ เราจะสามมารถทำเรื่องเอาลูกเรามาได้ก็ต่อเมื่อ Partner Visa เราผ่าน stage 1 หรือ stage 2 ไปแล้วเท่านั้น ซึ่งก็หมายความว่า เราต้องได้ TR (Temporary Resident หรือวีซ่าชั่วคราว) หรือ PR (Permanent Resident หรือวีซ่าถาวร) ก่อนเท่านั้น เราถึงจะสามารถทำเรื่องสปอนเซอร์เอาลูกเรามาได้

การทำเรื่องเอาลูกมา หลังจากที่เราได้ TR นั้นจะแตกต่างการทำเรื่องเอาลูกมาหลังจากที่เราได้ PR

2.1 เอาลูกมาหลังจากที่เราได้ TR: เราจะได้ TR หลังจากที่เราทำเรื่อง stage 1 ผ่านแล้ว และเราก็ต้องรอให้ครบกำหนด 2 ปีหลังจากวันที่เรายื่นทำเรื่อง Partner Visa ตั้งแต่แรกเลย เราถึงจะทำ stage 2 เพื่อทำเรื่อง PR ได้ แต่ในระหว่างที่รอนี้ เราก็สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์เอาลูกเราเข้ามารวมกันใน application ของ stage 2 (permanent stage) ได้ เราเรียกว่า Dependent Child Visa; Subclass 445

case แบบนี้จะเกิดขึ้นบ่อยในกรณีที่เราทำเรื่อง Partner Visa Onshore แต่ว่าลูกเรายังอยู่ที่เมืองไทย หรืออาจจะประเทศอื่นๆ ก็เอาเป็นว่า ลูกเราอยู่ offshore ก็แล้วกัน เพราะถ้าเรายื่นเรื่อง onshore แต่ลูกเราอยู่ offshore เราไม่สามารถทำเรื่องเอาลูกมาได้เลยตอนที่ยื่นครั้งแรก stage 1

Subclass 445 นี้ มีทั้งข้อดีและข้อเสียคือ:
  • ข้อดีของ Dependent Child Visa; Subclass 445 คือลูกจะได้ PR ไปพร้อมๆกันกับเราเลย ตอนที่เราทำ stage 2, permanent stage
  • ข้อเสียของ Dependent Child Visa; Subclass 445 คือระยะเวลาในการพิจารณา Dependent Child Visa; Subclass 445 ก็นานเหมือนกัน ประมาณ 9-12 เดือน ซึ่งก็หมายความว่า เราเองก็ต้องรอเรื่องของลูกๆให้ผ่าน ให้ได้วีซ่า subclass 445 ก่อน พอลูกๆได้วีซ่า subclass 445 แล้ว เราถึงจะสามารถทำเรื่องของ stage 2 ได้ ไปพร้อมๆกันกับลูกๆเราเลย ซึ่งก็จะทำให้เกิดการล่าช้า แต่ก็มีหลายคนเลือกที่จะรอ เพราะอยากได้ PR ไปพร้อมกันกับลูกเลย

2.2 เอาลูกมาหลังจากที่เราได้ PR: อีกวิธีหนึ่งก็คือ เรารอให้เราได้ PR ก่อน รอให้เรื่องเสร็จทุกอย่างก่อน แล้วค่อยทำเรื่องเราลูกเรามาทีหลัง อาจจะด้วยเหตุผลการทางเงิน หรือว่าความพร้อมของการปรับตัวเข้ากับคนในครอบครัว หรือว่าประเทศและวัฒนธรรมที่แตกต่าง 

วิธีการและขั้นตอนก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงแต่ว่าการทำเรื่องหรือการยื่นเรื่อง เราต้องยื่นให้ถูกประเภท ให้ถูก subclass ก็เป็นพอ

การทำเรื่องเอาลูกมาหลังจากที่เราได้ PR นี้ เราจะต้องสมัคร Child Visa; Subclass 101 

จะสังเกตุว่าชื่อและ subclass ของวีซ่าจะแตกต่างกัน ดังนั้นเราต้องเลือกและสมัครให้ถูก subclass เพราะ subclass 445 และ subclass 101 นั้น ขั้นตอนและวิธีการสมัครจะไม่เหมือนกัน

หลายคนสงสัยว่าทำไมต้องมีหลายแบบ หลาย subclass ให้มันซับซ้อนจังเลย

ก็ไม่รู้นะครับ ต้องไปถามอิมมิเกรชั่นเอาเอง... ต้องไปถามคนที่เขาออกกฎหมาย

เอาเป็นว่าให้เรารู้เท่าทัน และเลือกที่จะสมัครและทำเรื่องให้ลูกเราได้ถูกต้องก็เป็นพอ...

No comments:

Post a Comment