Sunday, June 7, 2020

Pathway to PR; Exotic Dancer


เริ่ม 16 Nov 2019, หลังจากรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียเปลี่ยนคำนิยามของคำว่า "regional area" ไป

การที่หลาย ๆ เมืองใหญ่ตอนนี้กลายเป็น regional
การที่ประเทศออสเตรเลียมีวีซ่า subclass 494 ตัวใหม่ขึ้นมา
การที่สาขาอาชีพที่อยู่ใน ROL; Regional Occupation List ที่ออกจะดูแหวกแนวไป 

จริง ๆ แล้วถ้าเราไม่ไปตีกรอบทางความคิดของเรา
Let's your imagination runs wild ทุกอย่างมันก็เกิดขึ้นได้หนะจ๊ะ อยู่ในขอบเขตที่ถูกต้องของกฎกหมาย

subclass 494 นอกจากจะเปิดโอกาสให้คนคุมซ่องสามารถขอ PR ได้ จริง ๆ แล้วพวก Adult Entertainment industry มันก็มีอีกสาขาอาชีพที่สามารถขอ PR ได้ นั่นก็คือ Exotic Dancer

Exotic Dancer คืออะไร แบบไหนเหรอ
Exotic Dancer ก็คือพวกเต้น lap dance (เต้นหน้าตัก), pole dance หรือภาษาบ้าน ๆ ก็คือ "เต้นรูดเสา" ซึ่งก็สามารถขอ PR ได้

แต่มันก็ไม่ง่ายอย่างที่หลาย ๆ คนคิด เพราะ Exotic Dancer ก็จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันกับ:
- Ballet Dancer
- Contemporary หรือ Modern Dancer

ซึ่งก็คือ professional dancers จริง ๆ 
professional dancers พวกนี้ต้องมีวุฒิ ป.ตรี อย่างต่ำทางด้านการ dance หรือการแสดง

ดังนั้นไม่ใช่จู่ ๆ นึกอยากจะมารูดเสาแล้วสมัครขอวีซ่าเลย มันไม่ได้ มันต้องดูวุฒิการศึกษาด้วย ดูผลสอบภาษาอังกฤษด้วย

บางคนอาจจะงงว่า huh อะไรนะ รูดเสา ต้องจบ ป.ตรี ด้วย

มันก็เป็น ป.ตรี ทางด้าน dance จ๊ะ
ไม่ใช่ ป.ตรี ทางด้านรูดเสา ที่เรายกตัวอย่างสาขาอาชีพรูดเสา หรือ Exotic Dancer มาเผยแพร่ ก็แค่อยากจะเบิกเนตรใครหลาย ๆ คนก็แค่นั้นเอง

สิ่งที่แตกต่างระหว่างสาขาอาชีพ เต้นรูดเสา กับคนคุมซ่อง (Brothel Keeper) ก็คือ Exotic Dancer นั้นอยู่ในหมดหมู่ของ professional dancer

Dancer or Choreographer; ANZSCO 211112
ซึ่งอยู่ในสาขาอาชีพ long-term list สามารถขอ PR ได้ด้วยตัวเองหรือมีนายจ้างสปอนเซอร์ นายจ้างสามารถเป็นนายจ้างที่อยู่ในเมืองหรือเมืองรอบนอกก็ได้ เพราะเป็นสาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list

นักเต้นรูดเสา หรือ Exotic Dancer รวมไปถึง Ballet Dancer และ Contemporary หรือ Modern Dancer นั้นสามารถขอ PR และมี Pathway ในการขอ PR ดังต่อไปนี้

PR, ขอได้เลยไม่ต้องรอนาน:

- subclass 189; Independent Skilled Migrant, นับแต้ม 65 แต้มอย่างต่ำ

- subclass 190; Skilled Nominated Visa, นับแต้ม 65 แต้มอย่างต่ำ แต่ต้องไปไล่ดูกันเองว่ามีรัฐไหนที่ต้องการสาขาอาชีพนี้ (subclass 190,  ได้ 5 bonus points)

- subclass 186; Employer Nomination Scheme; Direct Entry เป็น PR ที่ต้องมีนายจ้างสปอนเซอร์ นายจ้างคนไหนต้องการพนักงานรูดเสายกมือขึ้น

Pathway to PR; อ้อมนิดหนึง แต่ก็ขอ PR ได้:

- subclass 482; Temporary Skill Shortage visa. วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ ทำงาน 3 ปี กับนายจ้างแล้วขอ PR ด้วย subclass 186 ENS, Transitional Stream. subclass 482 สามารถขอได้จากนายจ้างทั่วประเทศ ไม่เกี่ยวกับว่าจะอยู่เมืองรอบนอกหรือเปล่า

- subclass 491; Skilled Work Regional, นับแต้ม 65 แต้ม แต่ก็ต้องไปไล่ดูเอาเองว่ามีเมืองในเขต regional ของรัฐไหนต้องการสาขาอาชีพนี้หรือเปล่า, พอได้ subclass 491 แล้วเราก็สามารถจ่อคิวทำ PR ด้วยวีซ่า subclass 191 ได้ เราเคยเขียน blog เรื่อง subclass 491, 494 & 191 ไปแล้ว (regional visas). subclass 491 ได้ 15 bonus points จากการไปอยู่เมืองรอบนอก

- subclass 494; Skilled Employer Sponsored Regional ก็ทำได้ แต่เราก็คิดว่า ถ้าสาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list เราก็ควรขอเป็น subclass 482 ได้เลย จะได้ PR ไวกว่า 482 จะไม่ค่อยอ้อมเหมือน 494

วีซ่า subclass 189, 190, 191 เมื่อเราได้ PR แล้ว เราจะทำงานในสาขาอาชีพนั้นหรือเปล่าก็ได้ เราไม่จำเป็นต้องทำงานเป็น Exotic Dancer หรือ dancer อะไรอีกต่อไปก็ได้

วีซ่า subclass 491, เมื่อวีซ่าผ่าน เราไม่จำเป็นต้องทำงานในสาขาอาชีพที่เราขอมา ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องทำงานเป็น Exotic Dancer หรือ dancer อะไรอีกต่อไปก็ได้

วีซ่า subclass 186 ขอละไว้ในฐานที่เข้าใจ เราเคยพูดเรื่องนี้ไปแล้ว

หลาย ๆ คนอาจจะงงว่า มันมีด้วยเหรอ ป.ตรีทางด้านการ dance 
มีสิครับ

หลาย ๆ มหาลัยที่นี่เปิดสอน:

Bachelor of Fine Arts (Dance) - The University of Melbourne
Bachelor of Fine Arts (Dance) - Queensland University of Technology
Bachelor of Dance Practice - Australian College of Physical Education (ACPE)
Academy of Music and Performing Arts

และที่อื่น ๆ อีกเยอะแยะ

ต่างประเทศ อย่างเช่นที่ US, UK หรือฝรั่งเศสก็เยอะแยะ

ที่เมืองไทย ก็อาจจะเป็นพวกคณะนาฏศิลป์หรือ คณะการแสดง อะไรประมาณนี้

หลัก ๆ ก็จะมีประมาณนี้

คุณสมบัติปลีกย่อยแต่ละ subclass จะแตกต่างกันออกไป

กร้อมแกร้มแค่นี้พอ
เดี๋ยวคนไม่เห็นคุณค่า...Oops!!!

ใครอยากเปลี่ยนสาขาเรียน
หรือเปลี่ยนสาขาอาชีพ ยังทันนะครับ

ป๊ะ เราไปรูดเสากัน

No comments:

Post a Comment