Tuesday, May 26, 2020

PR; สาขาอาชีพ Music


ในคืนฟ้ามืดของวันอังคารอันเงียบเหงาและซบเซาที่ฝั่งตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย

เราได้รับ email จาก "someone" ที่ WA เวลาเราก็ห่างกัน 2 hr ที่โน่นคงยังไม่มืดมาก

น้องฝากคำถามเอาไว้ใน email

น้องรู้จักน้อง "J WA" และน้อง "NN WA" (ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน) เราก็เลยต้องดูแลกันหน่อยละกัน

ถ้าเข้ามาถูกทาง
เงินไม่มา ผ้า P' J ก็หลุดจ๊ะ

สำหรับคนที่จบสาขาทางด้านดนตรีมา ไม่ว่าจะจบจากประเทศไหนก็ตาม
มันก็มี Pathway ไปสู่ PR ได้

สำหรับคนที่อยู่ในเขต regional
ที่ไหนก็ได้ ที่ไม่ใช่ Sydney, Melbourne หรือ Brisbane

ตั้งแต่ 16 Nov 2019, ทางอิมมิเกรชั่นได้มีการ define คำจำกัดความของ regional ใหม่ เราก็อยากจะให้ทุกคนลองมอง regional area ด้วยมุมมองที่เปลี่ยนไปด้วย

WA, SA, TAS, เป็น regional ทั้งรัฐ
ACT, NT เป็น regional ทั้ง territory
และเมืองใหญ่อีกเยอะแยะมากมาย; Wollongong, Newcastle, Gold Coast, Sunshine Coast, Townsville, Cairns และอื่น ๆ อีกมากมาย

สาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ music มันก็มีอยู่ดังนี้:
- Sound Technician
- Music Professional
- Music Teacher (Private Tuition)
- Music Director
- Musician (Instrumental)

เนื่องด้วยสาขาอาชีพเหล่านี้อยู่ใน short-term list และอยู่ใน ROL; Regional Occupation List เราจึงต้องมีนายจ้างมาสปอนเซอร์

ยกเว้น
- Music Director และ
- Musician (Instrumental)
ที่อยู่ใน long-term list

ดังนั้นน้องมีวิธีในการขอ PR ได้ 3 ทาง แล้วแต่ว่าจะชอบทางไหน

1. Music Director หรือ Musician (Instrumental) เป็นสาขาอาชีพอยู่ใน long-term list เราก็สามารถขอ PR ได้ด้วยตัวเองเลยด้วยวีซ่า subclass 189, ด้วยการนับแต้มของตัวเราเอง เราเคยเขียน blog เรื่อง subclass 189 ไปแล้ว

2. Music Director หรือ Musician (Instrumental) เป็นสาขาอาชีพอยู่ใน long-term list ดังนั้นเราสามารถขอวีซ่าที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ subclass 482, ทำงาน 3 ปีด้วยวีซ่า subclass 482 แล้วก็ขอ PR ด้วยวีซ่า subclass 186 ENS ได้เลย

หรือ

3. น้องสามารถขอ PR ด้วยวีซ่า subclass 494 + subclass 191 เพราะน้องอยู่ที่ regional area 

 3.1. ถ้าน้องมีประสบการณ์ในการในสาขาอาชีพนั้น อย่างน้อย 2 ปี (part-time ก็ได้) น้องก็สามารถขอวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ได้, subclass 482 TSS (Temporary Skill Shortage visa)

น้องก็ต้องมีผลสอบ IELTS, general; overall 5, each band 4.5

เนื่องด้วยน้องถือ passport Thai (มันดีอย่างนี้นี่เอง) น้องสามารถขอวีซ่าได้ถึง 4 ปี แทนที่จะเป็น 2 ปี ถึงแม้ว่าสาขานั้นจะอยู่ใน shor-term list ก็ตาม.... Oops!!!... บอกเฉพาะคนใน page นี้จ๊ะ  

3.2. พอน้องทำงาน full-time ด้วยวีซ่า subclass 482, 2 ปี น้องสามารถเอาประสบการณ์ 2 ปี + กับประสบการณ์อันก่อนที่น้องจะขอ subclass 482, ซึ่งสมมุติว่าตอนนั้น น้องมีประสบการณ์ part-time 2 ปีก่อนขอ subclass 482, น้องก็เอามารวมกันได้ แต่เราก็จะนับเป็น 1 ปี full-time (2-year part-time) 

เอามารวมกันเป็น 3 ปี full-time

เมื่อน้องมีประสบการณ์ 3 ปี full-time น้องก็สามารถขอวีซ่า subclass 494 ได้ เพราะน้องทำงานอยู่ในเขต regional

วีซ่า subclass 494, นายจ้างต้องเป็นคนสปอนเซอร์; Skilled Employer Sponsored Regional

ตอนที่ขอวีซ่า subclass 494 น้องจะต้องทำ skill assessment ก่อน
แล้วก็ต้องสอบ IELTS, general 6 each band

subclass 494 บังคับทำ skill assessment ทุกสาขาอาชีพ

3.3. พอน้องขอวีซ่า subclass 494 น้องก็จะได้วีซ่ามา 5 ปี
ในระยะเวลา 5 ปีนี้ น้องต้องทำงานในเขต regional อย่างน้อย 3 ปี
และมีค่าแรงอย่างน้อย $53,900 ต่อปี (เยอะกว่านี้ก็ได้ ตามสาขาอาชีพ)

3.4. พอน้องถือวีซ่า subclass 494 ได้ 3 ปี น้องก็สามารถขอ PR; subclass 191, Skilled Regional ด้วยตัวของน้องเอง

วีซ่า subclass 191 ไม่จำเป็นต้องใช้นายจ้างสปอนเซอร์
น้องสามารถขอ PR ด้วยตัวของน้องเอง
ขอให้น้องมีนายได้อย่างต่ำ $53,900 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี ไม่ต้องต่อเนื่อง

พอน้องได้ PR แล้ว น้องไม่จำเป็นต้องทำงานให้กับนายจ้างนั้น ๆ อุ๊ย สร้างความร้านฉานคืองานของ J หรือเปล่า

พอน้องได้ PR แล้ว น้องอยากจะทำอะไรกับชีวิตของน้องเองก็ได้
น้องเป็นอิสระแล้ว

อยากจะไปขาย burger ที่ McDonald ก็ได้
หรือทำงานเช็ดกระจก ขัดห้องน้ำ ทำได้หมดจ๊ะ
ไม่มี condition อะไรใด ๆ ทั้งสิ้น

หลาย ๆ สาขาอาชีพสามารถขอ PR ได้จ๊ะ
มันมี pathway ของมัน
อ่านข้อมูลเรื่องกฎหมายอิมมิเกรชั่นของออสเตรเลีย ควรอ่านจากคนที่เขามี MARN อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ไม่อ่านอะไรตาม "พันถีบ" นะจ๊ะเด็ก  ๆ

ไม่ว่าใครจะมีความฝันอะไร
เราขอเอาใจช่วย
ทางอาจจะคดเคี้ยวไปบ้าง แต่ถ้าเดินไปแบบไม่ละสายตา
กร์าดไม่ตก
รับรองถึงเป้าหมายแน่นอน

เหนื่อยได้
ท้อได้
พักได้
แต่อย่าหยุด

LOVE

No comments:

Post a Comment