"AAT อุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์"
ถ้าวีซ่าโดนปฏิเสธ หรือโดนยกเลิก เราสามารถทำอะไร ยังไง ได้บ้าง
เราก็สามารถอุทรณ์ได้นะครับ เพราะถ้าไม่อุทรณ์ก็ต้อง pack ของกลับบ้านทันที
โดนยกเลิกวีซ่า; visa cancellation:
วีซ่าเราขาดทันที
ถ้าเราไม่อุทรณ์ เราก็ต้องกลับบ้าน แต่เนื่องด้วยเราไม่มีวีซ่าแล้ว ก่อนที่จะเดินทางออกนอกประเทศ ก็ควรจะเข้าไปที่อิมมิเกรชั่นก่อน เพื่อขอ Bridging Visa E, เดินเข้าไปขอเลยครับ ไม่มีค่าใช้จ่าย ประมาณ 5-10 วันก็ได้แล้ว
Bridging Visa E สามารถ apply ได้ online ที่ ImmiAccount
ถ้าจะอุทรณ์ต้องอุทรณ์ภายใน 7 วันทำการ ไม่รวมเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ
โดนปฏิเสธ หรือขอวีซ่าไม่ผ่าน; visa refusal:
วีซ่าไม่ขาดทันทีเพราะมี Bridging Visa อยู่ตอนที่ขอวีซ่านั้น ๆ (substantive visa)
Bridging Visa จะหมดภายใน 35 วัน
ถ้าไม่อุทรณ์ก็ต้องกลับบ้านก่อนที่ Bridging Visa จะหมดอายุ
ถ้าจะอุทรณ์ก็ต้องอุทรณ์ภายใน 21 วัน
ดังนั้นถ้าใครที่คิดจะอุทรณ์ ก็ต้องนับวันให้ดี ๆ นะครับ
อย่าพลาด
อย่าตัดสินใจนาน
ถ้าหากเราไม่อยากอุทรณ์ก็ไม่เป็นไร แต่อย่าลืมว่าประวัติการโดนปฏิเสธวีซ่า หรือโดนยกเลิกวีซ่าของเราก็จะเป็นประวัติติดตัวไปตลอดชีวิต ไม่มีวันหมดอายุ ไม่มีการล้างประวัตินะครับ
การอุทธรณ์ไม่ได้หมายความว่าเราอุทรณ์เข้าไปแล้ว case เราจะได้วีซ่ากลับคืนมา หรือวีซ่าเราจะผ่านนะครับ แต่ก็ case-by-case
อยากให้ทุกคนใช้ชีวิต อยู่บนความเป็นจริง
Be realistic.
1. ถ้าไม่อุทรณ์ก็กลับบ้าน
2. ถ้าอุทรณ์ ก็อยู่แล้วก็สู้ case กันต่อไป หรือถ้าคิดว่ายังไงก็คงไม่ชนะ อย่างน้อยซื้อเวลาเพื่อเตรียมตัวกัน นั่น นี่ โน่น ก่อน ก็ดี เพราะบางคนยังไม่พร้อมที่จะกลับภายใน 35 วัน
ถ้าเรารู้ทั้งรู้ว่าโอกาสที่จะผ่านมีน้อยมาก แล้วเราจะอุทรณ์ไปทำไม
เหตุผลของแต่ละคนไม่เหมือนกัน:
1. บางคนมีธุรกิจที่นี่ ขอซื้อเวลาเพื่อสะสางอะไรบางอย่างก่อน
2. ต้องการอยู่กับแฟน เพื่อให้ครบ 12 เดือน เพื่อจะได้ทำ Partner Visa ต่อไป (de facto) หรือไม่ก็แต่งงานไปเลย
3. บางคนอยู่ที่นี่มานานแล้ว ยังไม่พร้อมที่จะกลับเมืองไทย ขอซื้อเวลาต่อออกไปอีกบ้างเล็กน้อย
4. เหตุผลส่วนตัว หลากหลายกันออกไป
แล้วแบบไหนหละ ที่เราคิดว่าโอกาสผ่านน้อย:
วีซ่าโดนยกเลิก เพราะไม่ไปเรียน ทำงานเพลินหาเงิน เราเข้าใจนะครับ ชีวิตแต่ละคน เกิดมาไม่เหมือนกัน...please don't judge!!
วีซ่านักเรียน ที่ต่อแล้วต่ออีก มา 7-8 ปีแล้ว คงจะต้องถึงเวลาที่จะหมดอาชีพการเป็นนักเรียนเสียที
visa subclass 482, stage 3 ที่ stage 2 ไม่ผ่าน หรือยื่นอุทรณ์ไปแล้วของ stage 2 ก็ไม่ผ่าน ดังนั้น stage 3 ก็ต้องไม่ผ่านไปด้วย automatic (ภาษาทางกฎหมาย เราเรียกว่า natural justice)
...etc...
แล้วแบบนี้อุทรณ์ไปแล้ว case ของเราจะผ่านมั้ย
มันก็ต้องมีการไปแก้เกมส์กันที่ AAT หรือศาลอุทรณ์
มันก็ขึ้นอยู่กับการ present case, present ข้อมูล หาเหตุผลและข้ออ้าง มาโน้มน้าวจิตใจได้อย่างไร
และก็การเขียน submission เข้าไป
AAT จะมี email มาบอกให้เตรียมตัวประมาณ 1 เดือนก่อนที่จะไปขึ้นศาลนะครับ ดังนั้น คนที่อุทรณ์ไปแล้ว รับรองเรามีเวลาเหลือเฝือในการเตรียมตัวและเตรียม case
สำหรับ case ที่จะสู้นะ
แต่ถ้า case ที่อุทรณ์เพื่อซื้อเวลาเฉย ๆ ก็ไม่ต้องทำอะไร เพราะเราคงผิดจริง (โดดเรียนจริง เรียนมานานจริง นั่น นี่ โน่น)
ก็ถือว่าเป็นการซื้อเวลาเพื่อจัดการชีวิตดังที่เรากล่าวไปแล้วเบื้องต้นละกัน
ระยะเวลาที่สามารถซื้อได้ก็คือ:
Bridging Visa: 12 วัน
วีซ่าท่องเที่ยว: 129 วัน
วีซ่านักเรียนที่ไม่ผ่าน: 203 วัน
วีซ่าทำงาน subclass 457: 270 วัน
วีซ่าธุรกิจ: 346 วัน
Skilled Migrant: 312 วัน
Partner Visa: 345 วัน
Family visa: 406 วัน
วีซ่านักเรียนที่ถูกยกเลิก: 144 วัน
Business Sponsor/Nomination, subclass 457, 186, 187: 307 วัน
วีซ่าผู้ลี้ภัย: 400 วัน
อื่นๆ: 103 วัน
อุทรณ์หรือไม่อุทรณ์ ชีวิตเป็นของเรานะครับ
ชอบแบบไหน ก็เลือกเอาแบบนั้น
ไม่ต้องให้ใครมาตัดสินใจแทนเรา
ชีวิตเรา เราต้องเลือกที่จะดำเนินชีวิตเองนะครับ
ขอให้รู้เท่าทันเป็นพอ
Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture
No comments:
Post a Comment