Friday, April 7, 2023

RPL; Recognition of Prior Learning คืออะไร



หลายคนที่ต้องการทำวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์; subclass 482, subclass 494, subclass 186; ENS (Direct Entry) หรือ subclass 187; RSMS อาจจะมีประสบการณ์การทำงานครบ แต่วุฒิการศึกษาอาจจะเรียนมาไม่ตรงสาขาตามที่ทางอิมมิเกรชั่นกำหนดไว้

เราสามารถนำเอาประสบการณ์ทำงานของเราไปเทียบเท่ากับวุฒิการศึกษาต่าง ๆ ได้

Recognition of Prior Learning หรือ RPL คือการเอาประสบการณ์การทำงาน มาเทียบเท่ากับหน่วยกิต หรือวิชาที่เราเรียนที่ TAFE หรือ College ดังนั้นถ้าเราทำงานเป็น chef หรือทำงานร้านนวด เราก็สามารถเอาประสบการณ์การทำงานของเราไปเทียบเท่า Cert III, Cert IV หรือ Diploma ได้ 

การทำ RPL ก็ต้องทำกับ TAFE หรือ college นะครับ หลักการก็มีอยู่ว่า:

  • ก็ต้องมีประวัติการทำงาน (ต้องมีการลง tax มีการเสียภาษีที่ถูกต้อง) 
  • ถ่าย video clip เพื่อสาธิตว่าเรามีความสามารถในการทำงานได้จริงๆ 
  • logbook ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาว่าเราทำอะไมั่ง 
  • RPL ที่ทำกับ "J Migration Team" ไม่มีการบ้าน ไม่มี assignment เพราะเราเอาประสบการณ์มาเทียบเท่า ก็เหมือนกับ "กศน" ที่เมืองไทย


RPL เป็นใปประกาศที่สามารถใช้ได้ทั่วประเทศออสเตรเลียในการหางานหรือทำธุรกรรมกับกระทรวงอิมมิเกรชั่นได้ เพราะ RPL เองก็ได้รับการรับรองจากกระทรวงการศึกษา 

เราสามารถใช้ RPL ในการสมัครทำวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์; subclass 482, subclass 494, subclass 186 และ subclass 187


ยกตัวอย่าง RPL บางตัวนะครับ แต่ก็บอกได้เลยว่า จริงๆแล้ว RPL สามารถทำได้แทบทุกสาขาอาชีพ


Diploma of Remedial Massage
Diploma of Commercial Cookery
Certificate IV in Massage Therapy Practice
Certificate IV in Commercial Cookery
Certificate III in Solid Plastering
Certificate III in HairDressing

ดังนั้นหากใครเรียนมาไม่ตรงกับสาขาอาชีพงาน ยังไม่ต้องสิ้นหวังนะครับ ลองทำ RPL ดู เพราะ RPL สามารถทำได้ภายในระยะเวลา 8-9 weeks ซึ่งก็ถือว่าเร็วกว่าการที่เราจะต้องไปลงทะเบียนเรียนมาก ก็อยากให้ทุกคนลองเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายดูนะครับ ว่าอันใหนจะคุ้มมากกว่ากัน

บางคนก็ทำ RPL เพื่อขอขึ้นค่าแรงกับนายจ้างก็มี เพราะถือว่าเราได้วุฒิการศึกษาที่ตรงกับสายงานแล้ว รายได้เราก็ควรมากขึ้น ลูกค้าเราหลาย ๆ คนก็ทำแบบนั้น ก็ได้ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น :)

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

No comments:

Post a Comment