Wednesday, December 30, 2015

Review right ของวีซ่า subclass 457, 186 และ 187


วีซ่า subclass 457 ซึ่งเป็นวีซ่าชั่วคราวทำงานได้ 4 ปี แต่หลังจากนั้นสามารถขออยู่เป็นคนที่นี่ถาวรได้ ด้วย subclass 186 (ENS) หรือ subclass 187 (RSMS) หลังจากทำงานกับธุรกิจหรือนายจ้างเป็นเวลาอย่างต่ำ 2 ปี ซึ่งก็ใช้ได้กับพวก self-sponsor เหมือนกัน

ข้อดีของการขอวีซ่าทำงาน วีซ่า subclass 457 หรือวีซ่า ENS subclass 186 หรือ วีซ่า RSMS subclass 187 ก็คือ ผู้สมัครสามารถสมัครได้ทั้งแบบ onshore และ offshore และผู้สมัครก็สามารถรอผลวีซ่าจากที่ใหนก็ได้ จะอยู่รอภายในประเทศออสเตรเลียหรือจะรอมาจากนอกประเทศออสเตรเลียก็ได้  และสมาชิกของครอบครัวหรือผู้ติดตามก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ที่เดียวกันกับคนสมัคร ซึ่งก็หมายความว่าคนสมัครเองสามารถทำขอวีซ่าตอนที่เขาอยู่ที่ออสเตรเลียเป็น onshore แต่สมาชิกในครอบครัว ซึ่งหมายถึง สามีหรือภรรยา หรือ partner ในกรณีที่เป็นคู่รักเพศเดียวกัน รวมไปถึงลูกๆ (ถ้ามี) ถ้าหากอยู่เมืองไทยก็สามารถสมัครไปได้เลยพร้อมๆกัน ใน application เดียวกัน ไม่ต้องแยก

นั่นก็คือข้อดี แต่ในขณะเดียวกัน สมาชิกของคนในครอบครัวถ้าสมัครมาจากนอกประเทศหรือ offshore ถ้าเผื่อวีซ่าไม่ผ่าน จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ จะไม่สามารถอุทรณ์หรือทำเรื่อง  appeal ได้ สำหรับคนที่ขอวีซ่า 457, 186 หรือ 187 คนที่สามารถทำเรื่องอุทรณ์ได้จะเป็นคนที่สมัครภายในประเทศเป็น onshore เท่านั้นนะครับ 

ยังไงเสียก่อนขอวีซ่า 457, 186 หรือ 187 ถ้าเผื่อเป็นไปได้ เราก็แนะนำให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลีย แล้วสมัครภายในประเทศออสเตรเลียเป็น onshore กันทั้งหมด แต่หลังจากยื่นเรื่องเสร็จแล้ว ถ้าเขาอยากจะไปรอเรื่องอยู่ที่ข้างนอกเป็น offshore ก็ไม่เป็นไร

ยังไงเสียก็กันไว้ดีกว่าแก้นะครับ 

อย่าเป็นพวก เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายนะครับ

Saturday, December 26, 2015

การกรอกฟอร์มคนเข้าเมือง


รู้มั๊ยเอ่ยว่าฟอร์มที่เราๆกรอกกันเวลาเข้าประเทศออสเตรเลียหนะ นั่นเป็นอีกฟอร์มของอิมมิเกรชั่นนะครับ หลายๆคนอาจไม่รู้ คิดว่าเป็นฟอร์มทั่วๆไปของ custom จริงๆแล้วไม่ใช่นะครับ ฟอร์มที่เราๆกรอกกันตอนเข้าประเทศออสเตรเลียนั้น เป็นฟอร์มทางการของอิมมิเกรชั่น เราเรียกกันว่า ฟอร์ม 13 (Form 13)

Form 13 นี้ก็เป็นฟอร์มที่ชาว New Zealand ใช้ในการขอวีซ่า subclass 444 ซึ่งเป็นวีซ่า subclass พิเศษสำหรับชาว New Zealand เพื่อให้อยู่ที่ประเทศไปได้เรื่อยๆไม่มีกำหนด แต่วีซ่า subclass 444 นี้ไม่ใช่วีซ่าถาวรนะครับ เป็นแค่วีซ่าชั่วคราว ดังนั้นชาว New Zealand ที่เข้ามาอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียหลังจากวันที่ 26 Feb 2001 จะได้วีซ่า subclass 444 กัน ไม่ใช่ PR นะครับ 

ถ้าชาว New Zealand อยากได้ PR ซึ่งเป็นวีซ่าถาวร ก็ต้องสมัครขอวีซ่า subclass อื่นๆ อะไรก็ว่าไป 

เดี๋ยววกกลับมาที่เรื่องฟอร์ม 13 กันดีกว่า ฟอร์ม 13 เป็นฟอร์มทางการของอิมมิเกรชั่น ดังนั้นข้อมูลทุกอย่างที่เรากรอกตอนที่เราเข้ามาในประเทศออสเตรเลีย จะมีผลต่อการขอวีซ่าหรือซิติเซ่นของเราอย่างแน่นอน

ยกตัวอย่างเช่น Partner Visa ที่อยู่ที่เรากรอกลงไปในฟอร์ม 13 มีความขัดแย้งกับฟอร์มที่เรากรอกตอนยื่นเรื่องขอ Partner Visa หรือเปล่า เพราะข้อมูลจากฟอร์ม 13 จะมีการนำจัดเก็บเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงอิมมิเกรชั่น 

หรือไม่ก็คู่นักเรียนที่ไม่ได้แต่งงานหรือจด register of relationship กันแต่บอกว่าเป็นคู่ de facto กัน ก็ต้อง make sure นะครับว่าที่อยู่ที่เรากรอกลงไปในฟอร์ม 13 ตอนที่เราเข้าประเทศมามีความสอดคล้องกับข้อมูลที่เราให้ไปกับอิมมิเกรชั่นตอนขอพวกวีซ่าติดตามนักเรียน

ฟอร์ม 13 เป็นอีกฟอร์มที่สำคัญ โดยเฉพาะคนที่มีการเข้าออกประเทศบ่อยๆ ดังนั้นจะกรอกอะไรลงไปคิดสักนิดหนึ่งนะครับ โดยเฉพาะเรื่องของที่อยู่ มีหลายๆคนชอบเอาที่อยู่เพื่อนมาลง ซึ่งเราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเพราะอะไร ถ้าเหตุผลเพียงแค่เพราะจำที่อยู่ตัวเองไม่ได้ สุดท้ายแล้วอะไรที่เรากรอกลงไป สักวันหนึ่งมันจะมาหลอกหลอนตัวเราเองนะครับ เพราะข้อมูลอะไรก็ตามแต่ ถ้าหากเรามีความตั้งใจที่จะบิดเบือนความเป็นจริง อาจเจอ PIC4020 คือข้อหาให้ข้อมูลเท็จแก่อิมมิเกรชั่น โดนแบน 3 ปีนะครับ  (ban เฉพาะที่ขอวีซ่าชั่วคราว วีซ่าถาวร PR ไม่โดน ban นะครับ)

ยังไงเสียต่อไปก็อยากจะให้ทุกคนใส่ใจในการกรอกฟอร์ม 13 ฟอร์มของคนเข้าเมืองด้วยนะครับ

Friday, December 25, 2015

RSMS ดีกว่า 457 และ ENS ยังไง


Regional Sponsored Migration Scheme (RSMS) subclass 187, คือวีซ่าที่เป็น PR และมีข้อดีเยอะแยะมากมายเมื่อเปรียบเทียบกับ visa Subclass 457 และ ENS Subclass 186 แล้ว

RSMS คือวีซ่าที่นายจ้างหรือธุรกิจในเมืองท้องถิ่นรอบนอก (regional) ที่มีความต้องการที่จะจ้างพนักงานในสาขาอาชีพที่อยู่ใน CSOL ที่เคยเขียนเอาไว้แล้ว

Regional area ก็ดีไปอีกอย่างหนึ่งเพราะจริงๆแล้วเมืองบางเมืองไม่ได้ห่างไกลจากตัวเมืองใหญ่ๆเลยนะ แต่ตามรหัสไปรษณีย์ก็ถือว่าเป็น regional area ยกตัวอย่างเช่น

  • Cairns, QLD เป็นเมืองใหญ่มาก แต่ว่าไม่ได้อยู่ใน Gold Coast หรือ Brisbane ถ้าใครเคยไปเที่ยว Cairns จะรู้เลยว่า เป็นเมืองใหญ่ เมืองแห่งการท่องเที่ยว ดังนั้นพวกร้านอาหารไทย ร้านนวดไทยที่ Cairns สามารถทำเรื่องขอวีซ่า RSMS ให้พนักงานได้สบายๆ เพราะถือว่าเป็น regional
  • Moss Vale, Bowral หรือ Mittagong, NSW ก็ไม่ห่างจาก Wollongong มาก ขับรถ 45 นาที ก็ถือว่าเป็น regional area แล้ว เช่นเดียวกัน ร้านอาหารไทย หรือร้านนวดไทย สามารถทำเรื่อง RSMS ได้ง่ายๆ
นอกจากนี้ WA, SA, TAS ถือว่าเป็น regional ทั้งรัฐเลย และ เขตการปกครองพิเศษ ACT และ NT พื้นที่ทั้งหมดก็ถือว่า regional หมดเลย (ACT และ NT ไม่ใช่รัฐ แต่เป็นเขตการปกครองพิเศษ)

สรุปง่ายๆคือ WA, SA, TAS, ACT และ NT เป็น regional หมดเลย ไม่ต้องดูรหัสไปรษณีย์ให้วุ่นวาย

การขอวีซ่า RSMS คล้ายๆกับวีซ่า subclass 457 และ ENS Subclass 186 แต่มีข้อดีคือ:
  • คนสมัครไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ใรการทำงาน หรือ work experiene ในการสมัคร ดังนั้นนักเรียนที่เรียนจบมาใหม่ๆ สามารถทำ RSMS ได้ไม่ยาก
  • เพียงแค่คนสมัครต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษาให้ตรงกับสาขาอาชีพที่รัฐบาลต้องการ (CSOL) และมีคุณสมบัติทางด้านภาษาครบ แค่นี้ก็สมัคร RSMS ได้แล้ว
หลายๆคนอาจบอกว่า แล้วถ้าเราไม่มีนายจ้างหละจะทำยังไง ทางออกอีกทางหนึ่งก็คือ self-sponsored คือเปิดธุรกิจเองเลย แล้ว apply RSMS ให้กับตัวเอง ซึ่งก็สามารถทำได้เหมือนกัน

เรื่อง self-sponsor เราก็เคยเขียน blog เอาไว้แล้ว ก็แนะนำให้ลองอ่านดูนะครับ

ดังนั้น RSMS จึงเป็นประเภทของวีซ่าที่น่าจับตามองนะครับ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง

Thursday, December 17, 2015

เอกสารที่ต้องเก็บ employer obligation กับ visa subclass 457


เนื่องด้วยอิมมิเกรชั่นจะมีการล้างบางและทำการ clean up อะไรต่างของโปรแกรม visa subclass 457 เพราะเนื่องด้วยวีซ่า 457 เองก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ

เมื่อวันที่ 14 December 2015 ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลเองก็ได้มีการออกกฎหมายใหม่มาเพื่อลงโทษนายจ้างที่เรียกเก็บเงินจากลูกจ้างในการขอวีซ่า 457 เพราะมีนายจ้างหลายๆที่เรียกเก็บเงินกันรายอาทิตย์เลยว่าลูกจ้างต้องจ่ายเค๊าเท่าไหร่ต่อเท่าไหร่

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าอิมมิเกรชั่นจะมาเคาะประตูหน้าร้านแล้วขอดูเอกสารต่างๆของทางธุรกิจ

สิ่งที่อิมมิเกรชั่นอยากจะขอดูก็คือ
  • ขอดูว่าพนักงานที่ถือวีซ่า 457 ทำงานที่นี่จริงๆหรือเปล่า เจ้าหน้าที่ของอิมมเกรชั่นอาจจะขอดูหน้า ขอดูตัวเป็นๆ
  • ขอดู payroll และ roster ว่าแต่วัน แต่ละอาทิตย์ใครทำงานบ้างและจ่ายค่าแรงกันเท่าไหร่


สิ่งที่นายจ้างควรรู้เกี่ยวกับ obligation ของวีซ่า 457
  • นายจ้างต้องจ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน (economy class) เที่ยวเดียวกลับไปประเทศของลูกจ้าง ตาม passport ที่ถือ ถ้าลูกจ้างถือ passport หลายสัญชาติ ลูกจ้างสามารถเลือกได้ว่าเขาจะไปประเทศใหน
  • ปกติ business ที่ถูก approve ก็จะถูก approve ให้สามารถ sponsor คนทำงานได้ 5 ปี แต่เอกสารทุกอย่างต้องเก็บเอาไว้หลังจากนั้น 5 ปี เพราะอิมมิเกรชั่นสามารถเข้ามาตรวจได้ตลอดเวลา สรุปคือนายจ้างต้องเก็บเอกสารอะไรต่างๆไว้เป็นเวลา 10 ปี
  • อิมมิเกรชั่นสามารถเดินเข้ามาตรวจธุรกิจเราได้ตลอดเวลา แต่เราไม่จำเป็นต้องเอกสารให้เจ้าหน้าที่ดูวันนั้น เราสามารถบอกให้เจ้าหน้าที่มาใหม่ได้ เพราะเราอาจจะไม่พร้อมหรือไม่มีเวลาเตรียมตัวหรือเตรียมเอกสาร เพราะธุรกิจหลายๆธุรกิจก็อาจจะมีหลายสาขา เอกสารอาจจะอยู่อีกที่หนึ่ง
  • แต่ถ้าอิมมิเกรชั่นส่ง email หรือจดหมายมา เราต้องตอบภายในวันที่ทางอิมมิเกรชั่นกำหนด ดังนั้นถ้าอิมมิเกรชั่นเดินเข้ามาโดยไม่ได้นัดหมาย เราไม่จำเป็นต้องเอาอะไรให้ดู แต่ถ้าส่ง notice มา เราต้องตอบกลับ

เกร็ดเล็กๆน้อยที่นายจ้างหรือธุรกิจควรรู้
  • กฎหมายกำหนดว่านายจ้างต้องจ่ายตั๋วเครื่องบินให้ลูกจ้างกลับประเทศนั้นๆ แต่ไม่ได้บอกว่าต้องไปเมืองอะไร ไปจังหวัดใหน ดังนั้นถ้าลูกจ้างบอกว่าต้องการไปลงเชียงใหม่ หรือภูเก็ต (เพราะอยากไปเที่ยว) นายจ้างก็ต้องซื้อให้ ถึงแม้ว่าลูกจ้างเริ่มทำงานแค่ 1 วันแล้วลาออก
  • ถ้าลูกจ้างไม่ได้ทำงานกับเราแล้ว ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องแจ้งอะไรต่ออิมมิเกรชั่น เพราะเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องแจ้งอิมมิเกรชั่น ถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งอะไรต่ออิมมิเกรชั่น อิมมิเกรชั่นก็จะไม่รู้เลยว่าลูกจ้างคนนั้นเลิกทำงานกับนายจ้างแล้ว

นี่ก็เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆที่นายจ้างหรือธุรกิจต้องรู้นะครับ จะได้ไม่มีปัญหาเวลาอิมมิเกรชั่นแวะเข้ามาตรวจ เพราะอิมมิเกรชั่นเริ่มเข้มงวดกับวีซ่า subclass 457, ENS subclass 186 และ RSMS subclass 187 กันมากขึ้น

Sunday, December 13, 2015

จะ maintain training benchmark ยังไงให้ผ่าน PR


ได้เขียนเรื่อง training benchmark เอาไว้เยอะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทั่วไปของ training benchmark และการที่ธุรกิจต้อง maintain training benchmark ทุกๆปียังไง

การ maintain training benchmark ของธุรกิจนั้น แตกต่างจากการทำบัญชีทั่วๆไปคือ

ปกติแล้วเวลาเราทำบัญชีเสียภาษี ธุรกิจจะต้องทำบัญชีทุก 3 เดือน ทุก quarter (ไตรมาส) คือ
  • Jan - Mar
  • Apr - Jun
  • Jul - Sep
  • Oct - Dec
และปีงบประมาณก็เริ่มจาก 1 July ของปีนี้ ไปจนถึงวันที่ 30 June ของปีถัดไป 

แต่อิมมิเกรชั่นเอง ไม่ได้ทำให้ชีวิตเราสบายเลย อิมมิเกรชั่นไม่ได้ทำตาม accounting practice, อิมมิเกรชั่นไม่ได้คิดการทำ training benchmark เป็นไตรมาสเหมือนการทำบัญชี แต่อิมมิเกรชั่นจะนับเอา 12 เดือนจากวันวันนั้น

ยกตัวอย่างเช่น, ถ้าธุรกิจ ได้รับการ approve และได้มีการจ้างพนักงานที่ถือวีซ่า subclass 457 วันที่ 13 December 2015, การ maintain training benchmark ก็จะนับเอา 12 เดือนจากวันที่ 13 December 2015 ดังนั้นการ maintain training benchmark ก็ต้อง maintain จาก
  • 13 December 2015 - 12 December 2016
ซึ่งเป็นอะไรที่ปวดหัวมาก เพราะต้องมานั่งคำนวญว่า payroll การจ่ายค่าแรงพนักงาน จากวันที่นั้น ถึงวันที่นี้มันเป็นอะไรที่หยุมหยิมมาก แต่อิมมิเกรชั่นก็เลือกที่จะทำอะไรให้มันวุ่นวายโดยไม่ใช่เหตุ

ดังนั้นธุรกิจใหนที่จะต้อง maintain training benchmark ก็ต้องคำนวญวันที่กันให้ดีๆนะครับ จะไม่ได้ไม่มีปัญหากัน ตอนทำ PR (Permanent Resident) ต่อจากวีซ่า subclass 457

Sunday, December 6, 2015

วีซ่า subclass 457, ENS, RSMS กับ training benchmark


เราได้เคยเขียน blog อธิบายเรื่องของ Training Benchmark ไปแล้วตั้งแต่ช่วง July. ถ้าใครไม่รู้ว่า Training Benchmark คืออะไรก็แนะนำให้เข้าไปอ่านกันได้นะครับ

อิมมิเกรชั่นได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มในการขอวีซ่า 457, ENS และ RSMS โดยเฉพาะหลังจาก 9am วันที่ 21 November 2015 (ชอบเปลี่ยนอะไรกันช่วง weekend) เป็นต้นมา ทางอิมมิเกรชั่นได้มีการเปลี่ยนแปลงคำถามและข้อมูลในเรื่องของ Training Benchmark มากเลย

เป็นเรื่องปกติที่คนทำวีซ่า subclass 457 ก็ต้องทำเรื่องขอ PR ต่อ ไม่ว่าจะเป็น ENS (subclass 186) หรือ RSMS (subclass 187) 

ช่วงที่ทำเรื่อง ENS หรือ RSMS อิมมิเกรชั่นก็จะถามในเรื่องของ traning benchmark ของทุกๆปีที่ผ่านมาที่ทางธุรกิจได้มีการจ้างพนักงานด้วยวีซ่า subclass 457

สรุปง่ายๆคือ ปีใหนที่ธุรกิจมีพนักงานถือวีซ่า subclass 457 ทำงานอยู่ ทางธุรกิจเองต้องมีการทำ training benchmark ของปีนั้นๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่พนักงานถือวีซ่า subclass 457 ลาออก หรือ พนักงานถือวีซ่า 457 ได้ PR แล้ว ทางธุรกิจเองก็ไม่ต้องทำ training benchmark อีกต่อไป

หากธุรกิจมีการทำเรื่อง Standard Business Sponsor (SBS) มาก่อน แล้วต้องกลับมาทำวีซ่า subclass 457 อีกรอบ จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ทางอิมมิเกรชั่นก็จะถามว่าแต่ละปีที่เคยมีการจ้างพนักงาน subclass 457 ทางธุรกิจเองมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของ Traning Benchmark ยังไง ซึ่งผิดกับเมื่อก่อนมาก เพราะเมื่อก่อนเราไม่ต้องกรอกข้อมูลในเรื่อง Training Benchmark ทุกๆปี เราลักไก่เอาแค่ 1 ปี (12 เดือน) ก่อนยื่นเรื่องก็ทำได้เรื่องได้แล้ว แต่ตอนนี้รู้สึกว่าอิมมิเกรชั่นจะเข้มงวดมาก จะมาลักไก่อะไรกันไม่ได้เลย

ดังนั้นจึงสำคัญมากถ้าธุรกิจมีการจ้างพนักงานที่ถือวีซ่า subclass 457 ทางธุรกิจเองต้องเก็บ record ของการ traning ต่างๆทุกปีตราบใดที่ทางธุรกิจยังคงมีการจ้างพนักงานที่ถือวีซ่า subclass 457 และการ traning เองก็ต้อง train พนักงานที่เป็น PR หรือ citizen เท่านั้น train คนที่เป็นพนักงานต่างชาติไม่ได้ (train ได้แต่จะนับเอาค่าใช้จ่ายมา cliam ในเรื่องของ training benchmark ไม่ได้) และก็ต้องอย่าลืมว่าพนักงานที่ถือวีซ่า subclass 457 นั้นก็ยังถือว่าเป็นพนักงานต่างชาติ ดังนั้นถ้ามีการ train พนักงานที่ถือวีซ่า subclass 457 รายจ่ายของการ train พนักงานที่ถือวีซ่า subclass 457 ก็ไม่สามารถนำเอามา claim เป็นรายจ่ายของ traing benchmark ได้

ยังไงเสียก็แนะนำให้ธุรกิจเก็บ record ต่างๆเอาไว้ด้วยนะครับ เพราะเมื่อถึงเวลาทำ PR จะได้ไม่มีปัญหากัน

Sunday, November 29, 2015

Partner Visa แฟนขอเงินจากรัฐบาลแล้วจะสปอนเซอร์เราได้มั๊ย


ความรักมันเป็นเรื่องของหัวใจ อธิบายบอกใครก็คงเข้าใจยาก การที่คน 2 คนตกลงปลงใจรักกันนั้นมันอาจไม่มีเหตุผลที่สามารถพูดหรืออธิบายได้ เพราะถ้าเราสามารถอธิบายนิยามของความรักได้ เราคิดว่ามันก็คงไม่ใช่ความรักแล้วหละ ความรักมันต้องเป็นอะไรที่พิเศษเฉพาะตัว ความรักมันเป็นอะไรที่เกี่ยวกับความรู้สึกที่ไม่ต้องการหวังผลประโยชน์อะไร รวมไปถึงประโยชน์ทางด้านอิมมิเกรชั่นและวีซ่าด้วย

ดังนั้นใครที่มุ่งหน้ามุ่งตาหาคู่ หาแฟน เพียงเพื่อที่จะทำวีซ่าหรือขอ PR นั้น ก็แนะนำให้คิดให้ดีๆ เพราะถ้าคนเราอยู่ด้วยกันแล้วไม่มีพื้นฐานของความรักเป็นหลัก มันก็อยู่ด้วยกันลำบาก ถ้าจะทนอยู่ด้วยกันไปเพื่อหวังผลทางด้านวีซ่า มันก็เป็นอะไรที่ไม่ยั่งยืน ถ้าหากต้องมีการเลิกลากันไป มันก็จะเป็นบาดแผลของความรู้สึก

การที่คน 2 คนจะรักกัน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทางด้านอายุ สถานะทางด้านสังคม การเงิน รูปร่างหน้าตา และสีผิว คนเรามีสิทธิ์รักกันได้ มันเป็น basic human right ที่ทุกคนพึงจะมี

ที่ออสเตรเลียมีประชากรที่ต้องการความช่วยเหลือทางด้านการเงินและสวัสดิการทางด้านสังคมจากรัฐบาลผ่านหน่วยงานที่เรียกว่า CenterLink คนเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น PR (ที่เกิน 2 ปี) หรือว่าซิติเซ่น ที่ขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากรัฐบาล พวกเค๊ามีสิทธิ์ที่รักใครสักคน มีสิทธิ์ที่จะสปอนเซอร์ใครสักคนมาร่วมชีวิต ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเค๊าได้

ไม่ว่าคู่รักของเค๊าจะเป็น
  • คู่รักแบบเพศเดียวกัน
  • คู่รักแบบ de facto, หรือ
  • คู่รักแบบแต่งงาน

เค๊ามีสิทธิ์ของความเป็นมนุษย์ที่จะสปอนเซอร์คู่รักของเค๊า เพื่อที่จะเป็นคนที่สามารถอยู่ที่นี่ได้ถาวร (PR) ได้เหมือนคนอื่นๆทั่วไป

ดังนั้นฐานะทางด้านการเงินและสังคม ไม่ได้กีดกั้นอะไรให้คนที่ขอเงินหรือความช่วยเหลือจากรัฐบาลในการสปอนเซอร์คู่รักของเค๊า ในการขอ Partner Visa อะไรแต่อย่างใดเลย

สมัยก่อนการขอ Partner Visa คนที่เป็นคนสปอนเซอร์ต้องโชว์พวก payslip หรือ tax return อย่างต่ำ 2 ปี

สมัยนี้ ปัจจุบันนี้ไม่ต้องแล้วครับ แค่คนที่เป็นคนสปอนเซอร์บอกว่าเค๊ามีรายได้มาจากใหนมั่งก็ OK แล้ว สำหรับคนที่ขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลก็แค่บอกว่าเค๊ามีรายได้จากเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ก็แค่นั้นเอง แค่นี้ก็ OK แล้ว การสปอนเซอร์คู่รักทำ Partner Visa ไม่ได้มีคำถามจุกจิกในเรื่องของรายได้ของคนสปอนเซอร์เหมือนแต่ก่อน

ดังนั้นความเชื่อของคนหลายๆคน ที่มีความเชื่อว่า คนที่ขอเงินจากรัฐบาลแล้วไม่สามารถสปอนเซอร์คู่รักของเค๊าเพื่อทำ Partner Visa นั้นไม่จริงครับ เพราะอิมมิเกรชั่นหรือรัฐบาลเองไม่มีสิทธิ์ที่จะมาห้ามคนที่ขอเงินจากรัฐบาล คนจน หรือคนตกงาน ห้ามให้เค๊ามีความรัก ห้ามให้เค๊าสปอนเซอร์คู่รักเพื่อขอ PR

อิมมเกรชั่นหรือรัฐบาลเองไม่มีสิทธิ์ห้าม basic human right พวกนี้ครับ



Monday, November 23, 2015

dual citizenships คืออะไร มีผลอะไรต่อคนไทย

เนื่องด้วยช่วงนี้ลูกค้าหลายๆคนของ J Migration Team หลังจากที่ได้ PR กันแล้ว หลายๆคน หลายๆครอบครัวก็อยากที่จะเป็นซิติเซ็น เป็นคนของที่นี่กัน เพราะข้อดีของการเป็นซิติเซ็นของประเทศออสเตรเลียก็มีเหนือกว่าการเป็น PR อยู่บ้างเล็กน้อย และคนไทยเราเองก็สามารถถือ dual citizenship ได้ด้วย ซึ่งก็หมายความว่าเราไม่ต้องสูญเสียการถือสัญชาติไทยอะไรของเรา เราก็สามารถเป็น citizen ของประเทศไทย และประเทศออสเตรเลียได้ไปพร้อมๆกัน เพราะคนเขียนเองก็ถือ 2 สัญชาติเหมือนกัน และยังถือ PR ของประเทศ "xyz" อีกด้วย ดังนั้นเรามั่นใจในเรื่องของการเดินทางไปแต่ละประเทศว่าเราจะเข้าไปในลักษณะใหนที่จะ maximum ผลประโยชน์ในเชิงกฎหมายและเชิงพานิชย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการงาน และการเสียภาษี หรือการขอความเชื่อเหลือจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ

ข้อดีของการถือ citizen ของออสเตรเลียที่แตกต่างไปจากการเป็น PR:
  • ไม่มีวันหมดอายุนอกจากจะเป็นพวกก่อการร้าย เราก็มีหน้าที่แค่ต่อ passport ทุกๆ 10 ปี ต่อจะให้กลับไปตั้งรกรากหรือทำมาหากินอยู่ที่เมืองไทย เราก็ยังสามารถต่ออายุ passport ของออสเตรเลียได้อยู่เรื่อยๆทุกๆ 10 ปี ถ้าเผื่อวันใหนอยากจะกลับมาที่ประเทศออสเตรเลียก็กลับมาได้
  • ลูกๆสามารถใช้ HECS ในการเรียนต่อได้ ตอนเรียน ป.ตรี หรือ ป.โท ดังนั้นจึงไม่เป็นการแปลกที่หลายๆคนที่ออสเตรเลียมีหลายๆ degrees จากหลายๆมหาวิทยาลัย ตัวอย่างมีให้เห็นอยู่ใกล้ๆ
  • เฉพาะคนที่เป็น citizen เท่านั้น ที่สามารถเรียน PhD (ป.เอก) ได้ฟรี
  • ผู้หญิงไทยหลายๆคน (ไม่ได้เหมารวมไปทั้งหมดนะครับ) ขอวีซ่าออกเดินทางไปต่างประเทศยาก เพราะเค๊ากลัวเราไปขายนาผืนน้อย (แล้วเค๊าไม่กลัวผู้ชายไปขาย.... มั่งหรือไงนะ...) แต่ถ้าเค๊าเป็นคนของออสเตรเลีย เป็นซิติเซนของออสเตรเลีย เวลาเดินทางต่างประเทศ ก็สามารถขอวีซ่าในฐานะของคนที่เป็นคนออสเตรเลียได้ และปกติแล้วเวลาเดินทางในประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษด้วยแล้ว (ประเทศในเครือ CommonWealth) แทบจะไม่ต้องขอวีซ่าเลย ซื้อตั๋ว แล้วเดินทางด้วย passport ของประเทศออสเตรเลียได้เลย อย่าลืมว่าถ้าเราเป็น PR แต่เรายังถือ passport ไทยอยู่ เวลาจะเดินทางไปใหนก็ยังคงต้องเดินทางในฐานะของคนไทย ถือ passport ไทย บางประเทศก็ไม่ค่อยอยากจะต้อนรับสักเท่าไหร่ อย่างเช่นประเทศซาอุอาระเบีย เพราะคนไทยเคยไปขโมยเพชรของกษัตริที่ประเทศซาอุ อย่างนี้เป็นต้น
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าถ้าเราถือ 2 passports แล้วเวลาเดินทางหละ จะใช้ passport ใหนดี ไม่งงเหรอ...

หลักการจำง่ายๆคือ เราอยากจะเข้าออกในฐานะคนประเทศใหน ไทยหรือออสเตรเลีย เราก็ใช้  passport อันนั้นในการเข้าออก แต่ก็ต้องจำให้ได้ว่า เข้าประเทศใหนด้วย passport จากประเทศใหน (ไทยหรือออสเตรเลีย) เราก็ต้องใช้ passport จากประเทศนั้นในการเดินทางออก จำได้ง่ายๆ ไม่ยาก

สมมุติว่าเราเดินทางไปประเทศ "xyz" ที่ไม่ใช่ประเทศไทยหรือประเทศออสเตรเลีย ถ้าเราใช้ passport ไทยในการเดินทางเข้า ประเทศนั้นก็จะถือเราเป็นคนไทย กฎหมายอะไรที่ประเทศนั้น apply กับคนไทยก็จะ apply กับเราด้วย ในขณะเดียวกัน ถ้าเราใช้ passport ของประเทศออสเตรเลียในการเดินทางเข้าประเทศนั้น กฎหมายอะไรที่ประเทศนั้น apply กับคนออสเตรเลียก็จะ apply กับเราด้วย

ตัวอย่าง:
เราเดินทางจากซิดนีย์ไปกรุงเทพ
  1. ขาออกจาก ซิดนีย์ เราก็ต้องใช้ passport ออสเตรเลีย จำไว้นะครับ เข้า-ออกประเทศออสเตรเลีย ก็ใช้ passport ออสเตรเลีย
  2. พอไปถึงเมืองไทย เข้ากรุงเทพ เราก็ใช้ passport ไทยเข้า เพราะ เข้า-ออกประเทศไทย ก็ใช้ passport ไทย
  3. พอขากลับมา ออกจากกรุงเทพ เราก็ต้องใช้ passport ไทย เพราะ เข้า-ออกประเทศไทย ก็ใช้ passport ไทย
  4. พอถึงซิดนีย์ เข้าประเทศออสเตรเลีย เราก็ต้องใช้ passport ออสเตรเลีย เพราะ เข้า-ออกประเทศออสเตรเลีย ก็ใช้ passport ออสเตรเลีย
ส่วนสนามบินที่อยู่ๆ ก็เอาหลักการไปประยุกต์กันเองก็แล้วกันนะครับ

การที่เราใช้ passport ไทยเดินทางเข้าประเทศไทย ก็แสดงว่าเราเข้ามาในฐานะของคนไทย เราก็อยู่ที่ประเทศไทยได้ตลอด ไม่มีกำหนด ซึ่งก็เป็นผลดีสำหรับคนที่คิดว่าจะกลับไปทำมาหากินที่เมืองไทยสักพัก

ถ้าคนที่เดินทางเข้าประเทศไทยแล้วใช้ passport ออสเตรเลียเข้าไป เราก็จะเข้าไปในฐานะของคนออสเตรเลีย มีจำนวนจำกัดว่าอยู่ได้กี่วัน ดังนั้นพ่อแม่คนใหนที่มี passport ไทย แต่ลูกไม่มี passport ไทย ก็ต้องระวังในเรื่องนี้ด้วยนะครับ พวกที่คิดจะพาลูกกลับไปเที่ยวเมืองไทยนานๆ

การที่เราใช้ passport ออสเตรเลียกลับเข้ามาประเทศออสเตรเลีย ก็หมายความว่าเราเข้าประเทศออสเตรเลียมาในฐานะของคนออสเตรเลีย ดังนั้นเราก็อยู่ที่ประเทศออสเตรเลียได้ตลอด ไม่มีกำหนด

การเดินทางด้วย 2 passports ไม่ได้ยากอย่างที่คิดนะครับ อย่างที่บอกว่าคนเขียนเองก็ยังถือ PR ของประเทศ "xyz" อีกประเทศหนึ่งด้วย เดินทางมาแล้วหลายประเทศไม่เคยมีปัญหา ดังนั้นการเป็น dual citizenships ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่หลายๆคนคิดกัน


Sunday, November 22, 2015

วีซ่าคู่หมั้น วีซ่าแต่งงาน วีซ่า de facto แตกต่างกันยังไง


มีหลายคนสอบถามกันเข้ามา อยากรู้ความแตกต่างระหว่างวีซ่าคู่หมั้น กับวีซ่าแต่งงาน เดียววันนี้ก็เลยขอเขียนเรื่องนี้สะหน่อย

วีซ่าคู่หมั้น หรือ Prospective Marriage ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นคู่หมั้นที่กะจะแต่งงานกัน ไม่ใช่วีซ่าแต่งงาน
  • วีซ่าคู่หมั้นต้องยื่นจากข้างนอกประเทศออสเตรเลียเท่านั้น จะยื่นมาจากประเทศใหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นประเทศไทย
  • วีซ่าคู่หมั้น จะได้มาแค่ 9 เดือนเท่านั้น จุดประสงค์คือให้มาแต่งงานที่ออสเตรเลีย และต้องทำอะไรให้เสร็จภายใน 9 เดือน 
  • วีซ่าคู่หมั้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นวีซ่าสำหรับคนที่เค๊าอยากจะแต่งงานกัน และมาแต่งที่ออสเตรเลีย แต่ในระหว่างที่รอเรื่องวีซ่าออก ถ้าทั้งคู่เกิดเปลี่ยนใจไปแต่งงาน วีซ่าคู่หมั้นก็จะไม่ผ่าน เพราะอย่างที่บอกว่า นี่เป็นวีซ่าคู่หมั้นไม่ใช่วีซ่าแต่งงาน ดังนั้นใครที่คิดจะทำวีซ่าคู่หมั้นก็ต้องคิดให้ดีๆ คือไม่ใช่รอๆวีซ่าอยู่แล้วเกิดเปลี่ยนใจ เพราะถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ก็ต้องถอนเรื่องวีซ่าตัวเก่า เงินไม่ได้คืน แล้วยื่นวีซ่าแต่งงาน สรุปคือถ้าจะหมั้น ก็ทำวีซ่าคู่หมั้น ถ้าจะแต่งงาน ก็ทำวีซ่าแต่งงาน เลือกเอาสักอย่าง

ข้อดีของวีซ่าคู่หมั้น: (แทบจะไม่มี)
  • ไม่รู้นะ โดยส่วนตัวแล้ว มองหาข้อดีของวีซ่าประเภทนี้แทบไม่ค่อยมีเลย แต่นั่นมันก็เป็นความคิดของเรา แต่ based on professional opinion นะครับ ข้อดีก็อาจจะเป็นวีซ่าสำหรับคนที่ไม่สามารถเดินทางมาแต่งงานกับเราได้ที่เมืองไทย และก็คบกันยังไม่ถึง 12 เดือน ทำเป็น de facto partner ไม่ได้ ก็เลยอยากให้แฟนมาที่ออสเตรเลียก่อนแล้วแต่งงานกันที่ออสเตรเลีย แล้วทำ Partner Visa กันทีหลัง

ข้อเสียของวีซ่าคู่หมั้น: (มีเยอะแยะมากมาย)
  • จะได้วีซ่าแค่ 9 เดือนเท่านั้น จะไม่ได้มากไปกว่านี้
  • ในช่วงที่ยื่นวีซ่าคู่หมั้น เราจะต้องยื่น NOIM; Notice of Intended Marriage คือเป็นเอกสารบอกว่าเราตั้งใจจะแต่งงานกันเมื่อไหร่ ต่อให้เราลงวันที่ว่าต้องการแต่งงานวันใหนก็เถอะ case officer ก็จะทำงานเป็นเต่าไปตามปกติ เสร็จแล้ววันที่เราเลือกที่จะแต่งงานใน NOIM ก็ผ่านไป และก็ใช้ไม่ได้ ก็ต้องขอ NOIM กันใหม่ ขอเป็นวันที่ใหม่ วุ่นวาย ปวดหัว ต่อให้เราบอก case officer ว่าเออ เราจองวันแต่งงานวันนี้ วั้นนั้นนะใน NOIM คุณ case officer ทั้งหลายก็ไม่ได้สนใจอะไร ทำงานเนิบๆไปตามประสาเค๊านั่นแหละ ไม่ใช่แค่ case officer ที่เมืองไทยนะครับ เพราะเราเองก็ทำวีซ่าคู่หมั้นให้กับชาติอื่นด้วย ถ้าเป็นไปได้จะไม่ทำอีก ทำได้ แต่เสียเวลามาก ขอ charge เพิ่มละกัน $$$
  • มีบางคู่ที่เค๊ารักกันมาก อยากจะแต่งงานกันวันนั้น วันนี้ ก็แต่งไม่ได้สมใจ จะ book โรงแรม หรือ function centre จัดงานอะไรก็ทำไม่ได้ มันวางแผนอะไรไม่ได้เลย แต่ถ้าบางคู่ที่ชิวๆ ไม่ได้เรื่องมากอะไร เดี๋ยวได้วีซ่ากันเมื่อไหร่ก็เดินจูงมือกันไปจดทะเบียน ไม่ได้จัดงานเลี้ยงอะไรใหญ่โต แบบนี้ก็ไม่มีปัญหา
  • เอกสารในการขอวีซ่าคู่หมั้น มีมากเท่ากับการขอวีซ่าแต่งงานหรือ Partner Visa เลย พอได้วีซ่าคู่หมั้นมาแล้ว มาแต่งงานแล้ว ก็ขอ Partner Visa กันต่อ อย่าคิดนะครับว่าเออ เรายื่นเอกสารไปแล้วตอนทำวีซ่าคู่หมั้น เราจะไม่ยื่นเอกสารอะไรกันอีกมากมายตอนทำ Partner Visa เปล่าเลยครับ ต้องยื่นใหม่หมดเลย พยานที่เซ็นฟอร์ม 888 อะไรก็ต้องทำกันใหม่ เพราะฟอร์ม 888 มีอายุการใช้งานแค่ 60 วัน และพวก police check อะไรนั้นก็เหมือนกัน อายุการใช้งานแค่ 12 เดือน ผลตรวจร่างกายก็มีอายุการใช้งานแค่ 12 เดือนเช่นเดียวกัน เสียเวลา แต่ถ้าใครชอบให้หมอจับโน่น จับนี่ ตรวจโน่น ตรวจนี่ก็ตามสบายนะครับ ตัวใครตัวมัน

Friday, November 20, 2015

จะพิสูจน์ relationship เพื่อทำวีซ่า ทำยังไงดี


การพิสูจน์ relationship หรือความสัมพันธ์ ทำได้ 3 วิธีคือ
  • de facto, ต้องมี relationship ด้วยกัน 12 เดือน แยกกันอยู่ก็ได้ เพราะคนเราอาจต้องมีความจำเป็นต้องแยกย้ายกันไปทำมาหากิน แต่ถ้าแยกกันอยู่ก็ต้องโชว์หลักฐานว่าช่วงที่แยกกันอยู่นั้น ติดต่อกัน อะไรยังไงบ้าง โทรหากัน คุยกันทางโทรศัพท์ facebook, Skype, LINE หรือตาม social media ต่างๆ ดังนั้นคนที่บอกว่า de facto นั้นต้องอยู่ด้วยกัน บ้านเดียวกัน ที่อยู่เดียวกัน นั้นไม่จริงเสมอไป จริงๆอยู่คนเราถ้ารักกัน ก็ไม่ควรแยกกันอยู่ แต่บางที เนื่องด้วยหน้าที่การงาน และคนเรามันก็ต้องทำมาหากิน จะหางอมืองอเท้า ให้อีกฝ่ายหนึ่งหา แล้วอีกฝ่ายหนึ่งอยู่บ้านเฉยๆ เพื่อที่จะนับวันให้ครบว่าอยู่ด้วยกันเกิน 12 เดือน แบบนั้นก็แย่ และไม่ makesense


  • สำหรับคนที่ยังไม่ได้แต่งงาน หรือไม่อยากไม่แต่งงาน หรือคู่รักเพศเดียวกัน ก็สามาถจด register of relationship ได้ แต่จด register of relationship ที่ออสเตรเลีย แต่ละรัฐไม่เหมือนกัน ก็ลองแวะเข้าไปอ่าน blog เกี่ยวกับการจด register of relationship ดูก็แล้วกัน พอเราได้ใบจด register of relationship มา เราก็สามารถเอานำมาประกอบการสมัครวีซ่าของเราได้ ไม่ว่าจะเป็น Partner Visa, หรือวีซ่าติดตามต่างๆ อย่างเช่น
    • วีซ่านักเรียน
    • วีซ่าทำงานต่างๆ, subclass 457, ENS, RSMS... และอื่นๆอีกมากมาย
    • วีซ่า Skilled Migrant, subclass 189, subclass 190 และอื่นๆอีกมากมาย
    ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันเกิน 12 เดือนเหมือนหลายคนที่เข้าใจผิดกัน หรือชอบอ่านและเขียนตาม webboard แม่บ้านกัน

    • สำหรับคนที่รักกันมากปานจะดูดดื่ม และต่างเพศ (ที่ออสเตรเลีย เพศเดียวกันยังแต่งงานกันไม่ได้ตามกฎหมายนะครับ) และได้แต่งงานกันแล้ว ไม่ว่าจะแต่งมาจากประเทศใหน ประเทศไทย หรือประเทศออสเตรเลีย ไม่มีปัญหาครับ ขอให้ได้ใบทะเบียนสมรสมา ก็ใช้เป็นหลักฐานในการยื่นขอวีซ่าต่างๆได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันเกิน 12 เดือนเหมือนหลายคนที่เข้าใจผิดกัน หรือชอบอ่านและเขียนตาม webboard แม่บ้านกัน เช่นเดียวกัน เราก็สามารถนำเอาใบทะเบียนสมรสนำมาประกอบการสมัครวีซ่าของเราได้ ไม่ว่าจะเป็น Partner Visa, หรือวีซ่าติดตามต่างๆ อย่างเช่น
      • วีซ่านักเรียน
      • วีซ่าทำงานต่างๆ, subclass 457, ENS, RSMS... และอื่นๆอีกมากมาย
      • วีซ่า Skilled Migrant, subclass 189, subclass 190 และอื่นๆอีกมากมาย
    จะเห็นได้ว่าถ้าเราจดทะเบียนสมรส (ไม่ว่าจากประเทศใหน) หรือจด register of relationship (เฉพาะในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น และทำได้เป็นบางรัฐ) เราไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันให้ครบหรือเกิน 12 เดือน ซึ่งก็เป็นผลดีสำหรับคนที่มีความจำเป็นที่ต้องรีบทำวีซ่าตัวอื่นๆ ก่อนที่วีซ่าตัวเดิมจะหมดอายุ

    ส่วนสามีภรรยาคู่ใหนที่จดทะเบียนสมรสกันนานแล้ว หรือมีลูกมีครอบครัวด้วยกัน แทบจะไม่ต้องใช้เอกสารอะไรอย่างอื่นประกอบความสัมพันธ์เลย ใบทะเบียนสมรสใบเดียวก็เอาอยู่หมัด... 

    ส่วนสามีภรรยา หรือคู่รักคู่รักคู่ใหนที่พึ่งจดทะเบียนกันใหม่ๆ สดๆร้อนๆ ก็แนะนำให้เอาเอกสารอย่างอื่นประกอบเข้าไปด้วย อย่างเช่น บิลที่มาที่อยู่ที่เดียวกัน อะไรก็ว่าไป ที่แต่แน่ๆคือ ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันให้ครบหรือเกิน 12 เดือนอย่างที่เข้าใจผิดๆกัน

    และอีกอย่างก็คือ de facto คือการที่คน 2 คนใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะอยู่เมืองไทย ที่ออสเตรเลีย หรือที่ใหนๆก็ไม่เป็นไร มีหลายคู่ที่ไปพบรักกันที่ประเทศอื่น ในระหว่างที่เรียนหรือทำงานก็มีเยอะแยะ ดังนั้นเรื่องของสถานที่ ไม่มีปัญหาครับ

    ก็หวังว่าคนที่ได้อ่าน blog นี้ จะได้ความรู้และมีความกระจ่างกันมากขึ้นในเรื่องของ de facto และการจดทะเบียนสมรส รวมไปถึงการจด register of relationship ด้วย ว่าสามารถนำเอาเอกสารเหล่านั้นมาประกอบการขอวีซ่าติดตามได้อย่างไร

    Thursday, November 19, 2015

    Skilled Migrant เส้นทางสู่การเป็น PR


    การขอ PR; Permanent Resident ก็คือการเป็นคนที่สามารถพำนักอยู่ที่ออสเตรเลียแบบถาวรได้ ซึ่งก็เป็นความใฝ่ฝันของคนหลายๆคน 

    Skilled Migrant ก็เป็นเส้นทางหนึ่ง อีก pathway หนึ่งที่เด็กนักเรียนที่มาเรียนที่ออสเตรเลีย แล้วเรียนตรงสาขากับแรงงานที่ทางออสเตรเลียต้องการ

    คนใหนเรียนเก่งหน่อย มีคุณสมบัติและความสามารถดีหน่อยก็สามารถขอ PR ได้โดยตรง Independent Skilled Migrant (subclass 189)

    เดี๋ยวเรามาลองศึกษาดูว่า เส้นทางการเป็น PR ของ Skilled Migrant นั้น มีแบบใหนมั่ง นี่เป็นแค่แนวทาง pathway คร่าวๆ เอาเฉพาะที่ popular ก็พอ

    Student Visa ==> Independent Skilled Migrant (subclass 189): PR

    Student Visa ==> Skilled Nominated (subclass 190): PR

    Student Visa ==> Temporary Work (Skilled) visa (subclass 457)                            ==> Employer Nomination Scheme ENS (subclass 186): PR

    Student Visa ==> Temporary Work (Skilled) visa (subclass 457)                            ==> Regional Sponsored Migration Scheme Visa (subclass 187): PR

    แต่บางคนที่คุณสมบัติดีอยู่แล้ว วุฒิการศึกษาดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำ student visa นะครับ ถ้าคุณสมบัติครบก็สามารถสมัคร Skilled Migrant ได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็น offshore หรือ onshore

    Independent Skilled Migrant (subclass 189): PR

    Skilled Nominated (subclass 190): PR

    Temporary Work (Skilled) visa (subclass 457) ==> Employer Nomination Scheme ENS (subclass 186): PR

    Temporary Work (Skilled) visa (subclass 457) ==> Regional Sponsored Migration Scheme Visa (subclass 187): PR

    Wednesday, November 18, 2015

    Regional area คืออะไร


    หลายๆคนอาจอยากจะรู้ว่า regional area คืออะไร และมีผลอะไร ยังไงต่อการขอวีซ่าและ PR ในรูปแบบของ Skilled Migrant โดยเฉพาะ subclass 187 (RSMS) และ subclass 489 (Skilled Regional)

    คำว่า regional area ก็หมายถึงพื้นที่รอบนอก หัวเมืองเล็กๆ ห่างไกลจากเมืองใหญ่ ประชากรไม่ค่อยหนาแน่น ดังนั้นรัฐบาลถึงมีวีซ่าหลายๆ subclass ที่รณรงค์ให้คนไปอยู่ตามหัวเมืองเล็กๆเพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนประชากรและคนไม่ได้ไม่ต้องมาแออัดกันเมืองใหญ่

    ข้อดีของพวกวีซ่า regional ก็คือ จะขอได้ง่ายกว่า Skilled Migrant วีซ่าตัวอื่นๆ แต่เราก็ต้องเต็มใจและทนที่อยู่ตามหัวเมืองเล็กๆเหล่านั้นได้

    regional area ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของหลายๆคนที่ต้องการวีซ่าที่จะอยู่ที่ออสเตรเลีย พออยู่ได้สักพักแล้วเราค่อยย้ายหรือขยับขยายไปอยู่ตามเมืองใหญ่ๆก็ได้ แต่รัฐบาลก็แอบหวังอยู่นิดๆว่า ถ้าเราใช้ชีวิตอยู่ตามหัวเมืองเล็กๆสักระยะ เราคงชอบและคุ้นเคยกับเมืองๆนั้นแล้วก็อยากตั้งรกรากอยู่เมืองนั้นไปเลย เป็นการเพิ่มจำนวนประชากร และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของเมืองๆนั้น

    นี่ก็เป็นนโยบายการกระจายจำนวนประชากรและการกระตุ้นเศรษฐกิจตามหัวเมืองเล็กๆของรัฐบาล และถ้าเรามีข้อมูลพวกนี้ เราก็สามารถนำมาเป็นความรู้ ช่วยในการตัดสินอะไรหลายๆอย่างในการขอวีซ่าของเราได้

    เนื่องด้วยวีซ่าประเภท regional area นั้นขอได้ง่ายกว่าวีซ่าทั่วๆไป ดังนั้นมันก็เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่มี point ไม่พอที่จะทำ Independent Skilled Migrant (subclass 189) หรือคุณสมบัติในเรื่องของภาษาและอะไรหลายๆอย่างไม่พอที่จะสมัคร Employer Nomination Scheme ENS (subclass 186) โดยตรงได้

    แต่ก่อนที่เราจะยื่นวีซ่าประเภท regional area, เราก็ต้องเช็คก่อนนะครับว่าพื้นที่หรือเมืองที่เราอยู่จัดอยู่ใน regional area หรือเปล่า เพราะถ้าเราพักอยู่ตามเมืองใหญ่ เราก็คงไม่สามารถที่จะยื่นวีซ่าแบบ regional ได้ ก่อนที่เราจะมาเรียนรู้เรื่องวีซ่าของ regional area เดี๋ยววันนี้มาเรียนรู้แค่ว่า regional area คืออะไรและก็พื้นที่ใหนที่ถือว่าเป็น regional กันก่อนนะครับ

    ที่รัฐ NSW ขอบเขตของ regional คือ เมืองที่มีรหัสไปรษณีย์ดังต่อไปนี้
    2311 ถึง 2312
    2328 
    ถึง 2411
    2420 
    ถึง 2490
    2536 
    ถึง 2551
    2575 
    ถึง 2594
    2618 
    ถึง 2739
    2787 
    ถึง 2898


    และเมืองที่ไม่ได้อยู่ใน Sydney, Newcastle, the Central Coast และ Wollongong

    ที่รัฐ QLD ขอบเขตของ regional คือ เมืองที่มีรหัสไปรษณีย์ดังต่อไปนี้
    4124 ถึง 4125 
    4133
    4211
    4270 
    ถึง 4272
    4275
    4280
    4285
    4287
    4307 
    ถึง 4499
    4515
    4517 
    ถึง 4519
    4522 
    ถึง 4899และเมืองที่ไม่ได้อยู่ใน Brisbane และ Gold Coast 

    จะเห็นว่าที่ QLD จะมีรัฐที่น่าจะสนใจมากในเรื่องของ regional area เพราะจริงๆแล้วเมืองใหญ่ๆ เมืองท่องเที่ยวอย่าง Cairns ก็เข้าข่ายเป็นเมืองใน regional และหัวเมืองใหญ่แค่ขับรถ 5 นาทีจาก Gold Coast ก็ขอทำวีซ่าแบบ regional ได้แล้ว ถ้าใครคิดจะทำวีซ่าแบบ regional ก็แนะนำให้จับตามอง QLD ให้ดีๆนะครับ

    ที่รัฐ VIC ขอบเขตของ regional คือ เมืองที่มีรหัสไปรษณีย์ดังต่อไปนี้
    3211 ถึง 3334
    3340 
    ถึง 3424
    3430 
    ถึง 3649
    3658 
    ถึง 3749
    3753,
    3756
    3758
    3762
    3764
    3778 
    ถึง 3781
    3783
    3797
    3799
    3810 
    ถึง 3909
    3921 
    ถึง 3925
    3945 
    ถึง 3974
    3979
    3981 
    ถึง 3996
    และเมืองที่ไม่ได้อยู่ใน Melbourne

    ที่รัฐ WA ขอบเขตของ regional คือ เมืองที่มีรหัสไปรษณีย์ดังต่อไปนี้
    6041 ถึง 6044
    6083 
    ถึง 6084
    6121 
    ถึง 6126
    6200 
    ถึง 6799
    และเมืองที่ไม่ได้อยู่ในระแวกและเมืองรอบๆ Perth

    ACT, SA, TAS และ NT, ถือว่าเป็น regional ทั้งรัฐเลยครับ

    ดังนั้นใครที่สนใจทำวีซ่า subclass 190, และ RSMS subclass 187, ก็แนะนำให้ศึกษากันดูนะครับ โดยเฉพาะคนที่อยู่ WA, ACT, SA, TAS และ NT

    ใครอยากจะไปเมืองใหน ที่ใหนก็ลองดูรหัสไปรษณีย์และจับตามองๆเอาไว้นะครับ ศึกษาเอาไว้เป็นความรู้ จะได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป

    Sunday, November 1, 2015

    ข้อดีและข้อเสียของ Subclass 190; Skilled Nominated


    มาถึงจุดๆนี้แล้ว เรามั่นว่าทุกคนที่ติดตาม blog ของ J Migration Team คงรู้วิธีการคำนวณ point สำหรับการขอ PR ของประเภท Skilled Migrant กันแล้วนะครับ

    ถ้าจะให้ดี เราก็แนะนำให้ทุกคนทำ Independent Skilled Migrant (Subclass 189) นะครับ เพราะชื่อของวีซ่าก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น "Independent" คือเราเก่ง เราเจ๋ง เราได้ point ครบ 60 points ไม่จำเป็นต้องมีใครมาสปอนเซอร์เรา เราไม่ต้องไปง้อใคร เราขอ PR ได้ด้วยตัวของเราเองเลย

    แต่ถ้าหากเราหา point แล้ว หาแล้วหาอีก เราก็หาได้มากสุดแค่ 55 points เอง เราก็คงต้องขอ PR ด้วยการให้คนอื่นหรือรัฐบาลในแต่ละรัฐเป็นหน่วยงานในการสปอนเซอร์เราแล้วหละ 

    เราจะได้ point เพิ่มอีก 5 points ถ้าเราให้รัฐบาลของแต่ละรัฐสปอนเซอร์เรา ขอ PR ด้วย Subclass 190; Skilled Nominated แต่การที่รัฐนั้นๆสปอนเซอร์เราเพื่อทำเรื่องขอ PR เราก็จำเป็นที่จะต้องอยู่รัฐนั้นๆอย่างต่ำ 2 ปี หลังจากที่ได้ PR แล้ว 

    แต่จะอยู่ถึง 2 ปีหรือเปล่า เดี๋ยวเราก็มีวิธีในการแก้ปัญหาครับ ไม่ต้องห่วง

    เดี๋ยวเรามาลองวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของ วีซ่า Subclass 190, Skilled Nominated กันนะครับ

    ข้อดี
    • ถ้าเรามี point ไม่ถึง 60 points นี่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราจะได้ PR 


    ข้อเสีย
    • แต่ละรัฐมีอิสระในการออก SOL; Skilled Occupation List ของรัฐนั้นๆ
    • SOL สามารถเปลี่ยนได้เป็นรายวัน "รายวันครับ" อ่านได้ถูกต้องแล้ว คือถ้ารัฐใหนต้องการเปลี่ยน SOL รัฐนั้นก็สามารถเปลี่ยนได้เลย ไม่ต้องนำเรื่องเข้าสภา ดังนั้นถ้าใครที่คิดว่าจะขอ PR ด้วย Subclass 190, Skilled Nominated ก็ต้องเข้าไปเช็คที่ website ของแต่ละรัฐทุกวัน
    • แต่ละรัฐจะมีกฎของใครของมันในเรื่องของคุณสมบัติของผู้สมัคร ดังนั้นเราก็ต้องอ่านและศึกษากฎข้อบังคับของแต่ละรัฐ ก็ในเมื่อเราอยากได้ point เพิ่มจากเค๊า 5 points เราก็ต้องทำตามกฎของแต่ละรัฐที่เค๊ากำหนดมานะครับ

    สิ่งที่ควรต้องรู้เกี่ยวกับ Subclass 190, Skilled Nominated
    • เราต้องแจ้งความจำนงว่าเรามีโครงการที่จะไปอยู่รัฐนั้นอย่างต่ำ 2 ปี เวลาเราตีความหมายของกฎหมาย ในแง่ของภาษาเราก็ต้องระวังด้วยนะครับ กฎหมายได้บัญญัติเราไว้ว่า เราจะต้องมีโครงการที่จะไปอยู่รัฐนั้นอย่างต่ำ 2 ปี เราจะต้องมีโครงการนะครับ ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องอยู่ให้ครบถึง 2 ปี
    • รัฐบาลของรัฐนั้นๆไม่มีสิทธิ์ที่จะยกเลิก PR เราได้ หน่วยงานที่สามารถยกเลิก PR เราคือกระทรวงอิมมิเกรชั่นเท่านั้น
    • รัฐบาลของรัฐนั้นๆทำได้อย่างมากก็แค่แจ้งไปที่กระทรวงอิมมิเกรชั่น เสร็จแล้วทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นจะแจ้งให้เราทำเรื่องชี้แจงเข้าไปว่าทำไมเราถึงอยู่รัฐนั้นไม่ถึง 2 ปี
    • ถ้าเราไปอยู่รัฐนั้นๆแล้ว พยายามแล้ว พยายามหางานทุกอาทิตย์เลย แต่ก็หาไม่ได้อะไรประมาณเนี๊ยะ เราก็ต้องมีหลักฐานมาโชว์ด้วยนะว่าเราพยายามหางานแล้ว และพยายามไปใช้ชีวิตอยู่ที่รัฐนั้นๆแล้ว แต่เผอิญว่ามันมีตำแหน่งงานอยู่อีกรัฐหนึ่งเข้ามา แล้วเราสมัครไป แล้วเราก็เผอิญเกิดได้งานนั้นพอดี อะไรประมาณนี้ PR เราก็จะไม่โดนยกเลิกนะครับ เราก็ต้องมีเทคนิคกันนิดหนึ่ง

    หน่วยงานของรัฐต่างๆที่ดูแลในเรื่องของการสปอนเซอร์ Skilled Migrant ในประเภทของ Subclass 190, Skilled Nominated มีดังต่อไปนี้


    จะสังเกตุว่า ACT ก็จะมีสาขาอาชีพแปลกๆ เป็นพวก artist artist กันเยอะ ใครที่เรียนมาทางด้านนี้ ก็ลองอ่าน list ของ ACT ดูนะครับ

    และก็ที่ WA ก็จะมีงานที่เกี่ยวกับพวกทรัพยากรทางธรณีเป็นหลักเพราะที่ WA จะมีการทำเหมืองแร่เยอะ 

    ดังนั้นใครอยากจะไปอยู่รัฐใหนก็เชิญแวะเข้าไปดูที่ websites ได้เลยนะครับเพราะ J Migration Team เองจะไม่ค่อยเข้าไปเช็ค websites พวกนี้เท่าไหร่เพราะเสียเวลามากเลย คือประมาณว่า ใครคนใหน point ไม่ครบ 60 points ก็ต้องเข้าไปดูที่ websites ของแต่ละรัฐนะครับ และก็ต้องเข้าไปเช็คทุกวันเลยนะครับ เพราะข้อมูลของแต่ละรัฐสามารถเปลี่ยนแปลงได้เป็นรายวันเลยทีเดียว 

    นี่แหละที่เราไม่ชอบก็คือคำว่า "รายวัน" นี่แหละ

    Saturday, October 31, 2015

    SkillSelect: Submit EOI ยังไงไม่ให้พลาด


    EOI คือขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการสมัคร PR ด้วย Skilled Migrant การที่เรายื่น EOI เข้าไปก็เหมือนเป็นการยื่นความจำนงว่า เราสนใจที่จะสมัครและทำวีซ่าในสาขาของ Skilled Migrant ไม่ว่าจะเป็น Subclass 189; Independent Skilled Migrant, Subclass 190; Skilled Nominated หรือ Subclass 489; Skilled Regional Sponsored.

    การขอ PR ในประเภทของ Skilled Migrant เราต้องคำนวณ point ให้ได้ point 60 points ยกเว้น subclass 190 ที่เอาแค่ 55 points และ subclass 489 ที่เอา point แค่ 50 points .

    การที่เรากรอกข้อมูลหรือยื่น EOI เข้าไปเนี๊ยะ แนะนำนะครับว่า submit เข้าไปแค่ประมาณ 60 ก็พอ แต่ให้เราสามารถ claim point ได้เยอะๆก็ตาม

    เข้าใจนะครับว่าบางคนอาจจะมีประสบการณ์ในทำงานเพียบ วุฒิการศึกษาแน่น บวก point นั่น นี่ โน่น แล้วได้ 70-80 points อะไรประมาณนี้ ถ้าเราอยากจะกรอกข้อมูลเข้าไปเพื่อให้ได้ point เยอะๆก็ไม่เป็นไร แต่พอเราได้จดหมายเชิญให้สมัคร PR นี่สิ เราอาจมีปัญหาได้ ถ้าเราไม่สามารถพิสูจน์หรือ proove ได้ว่าเรามีคุณสมบัติตามที่เรากรอกข้อมูลเข้าไปจริง อย่างเช่น เรามีประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างประเทศมา 10 ปี เราก็จะได้ 15 points แต่เผอิญว่าเราไม่ได้จดหมายใบผ่านงานมาจากบริษัทเก่าที่เราทำงานมาเพราะเราทำงานมานานมากแล้ว หรือไม่ก็บริษัทนี้ปิดตัวไปนานแล้ว เราติดต่อใครไม่ได้เลย

    แต่ถ้าเรา claim point แค่ 5 points จากประสบการณ์ที่เราทำงานมา 3 ปีจากบริษัทที่อยู่ต่างประเทศ (จากประเทศออสเตรเลีย) และเราก็มีใบผ่านงานหรือใบรับรองงานอะไรเรียบร้อย มีเอกสารก็สามารถเอามาโชว์ เอามาอ้างอิงได้ 

    การ claim point 15 points กับการ claim point 5 points มันก็แตกต่างกัน 10 points สมมุติว่าเรามี point จากที่อื่นอยู่แล้ว 55 points และเราอยากทำ Independent Skilled Migrant ที่ต้องใช้ 60 points
    • ถ้าเราจะ claim point 15 points จากประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างประเทศมา 10 ปี เราก็จะได้ point รวมกัน 70
    • แต่ถ้าเรา claim point 5 points จากประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างประเทศมา 3 ปี เราก็จะได้ point รวมกันเป็น 60

    ไม่ว่าจะ 60 points หรือ 70 points เราก็จะได้รับจดหมายเชิญ letter of invitation ให้เราสมัคร PR เหมือนกัน เราไม่จำเป็นต้อง claim point สูงมากเกินไป เพราะถ้าหากเรา claim point เอาไว้สูงๆ แล้วตอนยื่น PR เข้าไปข้อมูลเราไม่ครบ point เรารวมกันแล้วไม่ได้ตามที่เราอวดอ้างสรรพคุณเราเอาไว้ วีซ่าเราก็ไม่ผ่านนะครับ

    ยกตัวอย่างเช่น ตอนทำ EOI เรา claim เอาไว้ใหญ่โตว่าเรามี point ครบ 70 points แน่นอน แต่พอยื่นเรื่องทำ PR เข้าไป case officer คำนวญแล้วว่าจริงๆแล้วเรามี point แค่ 60 points เอง case เราก็จะไม่ผ่าน 

    สู้เรา claim point เอาไว้ต่ำๆแต่ขอให้ผ่าน 60 points (หรือ 55 สำหรับ subclass 190 และ 489) แล้วตอนยื่นเอกสารเข้าไปทำเรื่องตอนขอ PR ถ้าเราสามารถยื่นเอกสารได้ point ตามที่เราบอกเอาไว้ หรือได้เยอะมากกว่า case เราก็จะไม่มีปัญหา เราก็จะได้ PR เลยทันที ง่ายๆ

    การที่เรามี point มากกว่าตอนที่เรายื่น EOI นั้นไม่มีปัญหา แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเรามี point เยอะตามที่เราแจ้งเอาไว้ตอนทำ EOI นี่แหละจะเกิดปัญหาตามมา

    ปกติแล้วทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ เราจะ claim กันแค่พอดี จะได้ไม่ต้องวิ่งหาเอกสารวุ่นวายเพื่อมา support การ claim point ต่างๆ ถ้าเราอยากจะ claim point เยอะๆ ออกแนวเวอร์นิดหนึ่ง ก็ทำได้ครับ แต่เราต้อง make sure ว่าเรามีเอกสารต่างๆมา support ด้วย

    ก็ลองเก็บเอาไปคิดดูนะครับ ถ้าจะทำ EOI กันเอง เราควรทำยังไง

    Friday, October 30, 2015

    หน่วยงานใหนที่ทำ Skill assessment


    Skill assessment คือการเช็คและเทียบเท่ามาตรฐานการศึกษาของคนที่สมัครวีซ่าว่าวุฒิการศึกษาที่เราได้มานั้นได้มาตรฐานการศึกษาของประเทศออสเตรเลียหรือเปล่า หน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ไม่ใช่กระทรวงการศึกษานะครับ

    หน่วยงานที่ดูแลการทำ skill assessment ก็เป็นองค์กรที่ดูแลมาตรฐานการทำงานในแต่ละสาขาอาชีพ ยกตัวอย่างเช่นที่เมืองไทย พยาบาลก็ต้องมีใบประกอบวิชาชีพจาก สภาพยาบาล เป็นต้น

    ลองดู SOL และก็ download กันเก็บเอาไว้นะครับจะได้อ้างอิงได้

    เดี๋ยววันนี้เรามาลองศึกษากันดูว่า หน่วยงานใหนดูแล skill assessment ของงานสาขาอาชีพอะไรมั่ง ให้เราดูที่ Column D ของ SOL นะครับ


    สมมุติว่าเราจบมาทางด้านบัญชี แล้วเราจะขอ PR ในรูปแบบของ skilled migrant ไม่ว่าจะด้วยวีซ่า 

    • Subclass 189; Independent Skilled Migrant
    • Subclass 190; Skilled Nominated
    • Subclass 489; Skilled Regional Sponsored
    เราก็ต้องทำ skill assessment และหน่วยงานที่ทำ skill assessment ของ Accountant (General) ก็คือ CPA/ICAA/IPA 

    แต่คนส่วนมากที่เป็นนักการบัญชี เค๊าก็จะทำ skill assessment กับ CPA กัน พอเรารู้ว่าเราต้องทำ skill assessment กับ CPA เราก็เข้าไปที่ website ของ CPA; https://www.cpaaustralia.com.au แล้วก็ติดต่อสอบถามข้อมูลกับ CPA ว่าจะทำ skill assessment จะต้องทำยังไงมั่ง

    หรือคนที่จบมาทางด้านวิศวะกรรมศาสตร์ ก็ต้องทำ skill assessment กับ Engineers Australia; https://www.engineersaustralia.org.au อย่างนี้เป็นต้น 


    ก็ให้ดูตรง Column D ของแต่ละสาขาอาชีพของตัวเองนะครับ

    เดี๋ยวเราจะบอกหน่วยงานบางหน่วยงานที่หลายๆคนอยากรู้กันนะครับ

    หมอ: http://www.medicalboard.gov.au
    พยาบาล: http://www.anmac.org.au

    ทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์จะไม่ค่อยทำ skill assessment ให้ลูกค้ากันสักเท่าไหร่นะครับ เพราะจริงๆแล้วการทำ skill assessment เป็นอะไรที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับเราสักเท่าไหร่ เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับกฎหมายอิมมิเกรชั่นเลย

    ยังไงเสีย ใครจะทำ skill assessment อันใหน อะไรยังไงก็แนะนำให้ศึกษากันตั้งแต่เนิ่นๆนะครับ

    ขอให้ทุกคนโชคดีในการทำ skill assessment นะครับ

    Sunday, October 25, 2015

    Skill assessment คืออะไร


    เนื่องด้วยช่วงนี้เราได้เขียน blog เกี่ยวกับ Skilled Migrant เอาไว้เยอะ blog นี้ก็เลยขอเขียนอะไรเกี่ยวกับ skill assessment กันสะหน่อยนะครับ

    การที่ชาวต่างชาติจะอพยพหรือเข้ามาทำงานที่ประเทศออสเตรเลียนั้น ทางรัฐบาลต้องการที่จะ make sure ว่าวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานของคนๆนั้นได้มาตรฐานตามที่ประเทศออสเตรเลียกำหนดเอาไว้ ไม่ว่าคนๆนั้นจะจบการศึกษามาจากประเทศอื่นหรือจบการประเทศออสเตรเลียก็ตามเถอะ

    การทำ skill assessment เพื่อขอวีซ่าในรูปแบบของ Skilled migrant จะแตกต่างจากการทำ skill assessment ของวีซ่าทำงาน temporary work, visa subclass 457 บ้างเล็กน้อย 

    blog นี้จะเน้นการทำ skill assessment เพื่อการขอวีซ่าในรูปแบบของ Skilled migrant:
    • Subclass 189; Independent Skilled Migrant
    • Subclass 190; Skilled Nominated
    • Subclass 489; Skilled Regional Sponsored

    จริงๆแล้วจุดประสงค์ของ skill assessment ก็เพื่อเป็นการเช็คว่าวุฒิการศึกษาของคนที่ต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศออสเตรเลียนั้นได้มาตรฐานของประเทศออสเตรเลียหรือเปล่า เพราะแต่ละประเทศระบบการเรียนการสอนจะไม่เหมือนกัน มาตรฐานทางการศึกษาไม่เหมือนกัน เพราะบางมหาวิทยาลัยห้องแถวจากบางประเทศอาจจะมีมาตรฐานเทียบเท่าแค่ TAFE หรือ college ของประเทศออสเตรเลียก็ได้ ทางรัฐบาลและอิมมิเกรชั่นเองก็มีหน่วยงานที่คอยตรวจเช็คและตรวสอบเพื่อเปรียบเทียบมาตรฐานทางการศึกษาของสถาบันแต่ละสถาบันในแต่ละประเทศ

    skill assessment ในแต่ละสาขาอาชีพที่อยู่ใน SOL; Skilled Occupation List จะไม่เหมือนกัน แตกต่างกันไปตามสาขาอาชีพ และหน่วยงานที่ดูแล ดังนั้นจึงเป็นการสำคัญที่เราจะต้องรู้ด้วยว่า สาขาอาชีพอะไร หน่วยงานใหนรับผิดชอบในเรื่องของการทำ skill assessment และภาษาอังกฤษที่ใช้ ต้องสอบเป็น general หรือ academic

    การสอบภาษาอังกฤษเพื่อที่จะคำนวณ point ของ skilled migrant ปกติแล้วสอบแค่ general ก็พอ แต่การสอบภาษาอังกฤษเพื่อที่จะทำ skill assessment นั้น บางสาขาอาชีพก็ต้องสอบเป็น academic ดังนั้นเราต้องเช็คข้อมูลตรงนี้ก่อนว่า สรุปแล้วเราต้องสอบภาษาอังกฤษแบบใหนกันแน่ 

    เนื่องด้วยสาขาอาชีพใน SOL มีเยอะ เราก็เลยไม่สามารถเอาข้อมูลของแต่ละสาขามาอธิบายได้นะครับ

    การทำ skill assessment ของ skilled migrant ก็คือการเอาวุฒิทางการศึกษา ใบ certificate อะไรต่างๆที่เราเรียนจบและวิชาที่เราลงทะเบียนเรียน (transcript) ส่งไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเช็คว่าวิชาที่เราเรียนได้มาตรฐานของการศึกษาของประเทศออสเตรเลียหรือเปล่า

    สำหรับคนที่จบปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาที่ใกล้เคียงกัน เราก็เอาวุฒิของปริญญาตรีเท่านั้นในการทำ skill assessment ดังนั้นถ้าใครตอนนี้เรียนปริญญาโทอยู่ เราก็ไม่จำเป็นต้องรอให้เราจบปริญญาโทเพื่อที่จะทำ skill assessment เราสามารถเอาวุฒิปริญญาตรีของเราทำ skill assessment ไปเลย ในขณะที่เรากำลังเรียนปริญญาโท แต่หลายคนก็ชอบอ้างว่าไม่มีเวลาทำเพราะเรียนหนัก รอเรียนให้จบก่อนแล้วค่อยทำ skill assessment

    จริงๆแล้ว skill assessment มีเอาไว้เพื่อเช็คมาตรฐานทางการศึกษาของคนที่จบการศึกษามาจากประเทศอื่น ซึ่งเราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเด็กนักเรียนต่างชาติที่มาเรียนและก็จบการศึกษาที่ประเทศออสเตรเลียถึงต้องทำ skill assessment ด้วย เพราะถ้าเค๊าจบการศึกษาที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว การศึกษาของเค๊ามันก็ต้องได้มาตรฐานของประเทศออสเตรเลียสิ บางทีกฎระเบียบการทำ skill assessment ของอิมมิเกรชั่นมันก็ไม่ค่อยที่จะ makesense สักเท่าไหร่ แต่เราก็คงหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ถ้านั่นเป็นสิ่งที่ทางรัฐบาลออสเตรเลีย หรืออิมมิเกรชั่นต้องการ

    ดังนั้นถ้าใครที่คิดจะทำ skill assessment เพื่อขอวีซ่าแบบ skilled migrant ก็ต้องเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยให้เรียนจบแล้วค่อยเตรียมตัว เพราะบางทีตอนที่เราเรียนจบแล้ว วีซ่าเราก็จวนเจียนใกล้จะหมด อาจจะไม่มีเวลาในการทำ skill assessment ก็ได้ เพราะการทำ skill assessment บางสาขาอาชีพนั้นก็ใช้เวลานานพอสมควร อย่างเช่นการทำ skill assessment ของสาขาอาชีพวิศวกรเป็นต้น เพราะต้องเขียน project ประกอบการทำ skill assessment ด้วย

    ดังนั้นถ้าใครที่คิดจะทำ skill assessment เพื่อขอวีซ่าแบบ skilled migrant เราแนะนำให้รีบสอบภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็น IELTS หรืออะไรก็ตามแต่ที่เทียบเท่า เพราะว่าพอเรียนจบก็จะได้ทำ skill assessment เลย จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาไปสอบภาษาอังกฤษและก็รอผลสอบอีก

    ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการขอวีซ่าประเภทนี้นะครับ skilled migrant...

    Friday, October 23, 2015

    คำนวณ point ของการทำ Skilled Migrant ทำยังไง


    วันนี้จะเขียนในเรื่องของการคำนวณ point ในการทำ Skilled Migrant นะครับ เราจะเน้นที่ Independent Skilled Migrant (subclass 189), Skilled Nominated (Subclass 190) และก็ Skilled Regional (subclass 489).

    • Independent Skilled Migrant (subclass 189) คือการขอวีซ่าเป็น PR โดยใช้ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการทำงานของตัวเอง ไม่ต้องให้ใครสปอนเซอร์ การที่จะ PR ด้วย subclass นี้เราต้องทำ point ให้ได้ 60 points ขึ้นไป
    • Skilled Nominated (Subclass 190) เป็นการขอ PR โดยให้รัฐบาลของแต่ละรัฐสปอนเซอร์ในสาขาอาชีพที่รัฐนั้นๆต้องการ การขอ PR ด้วย subclass นี้เราต้องทำ point ให้ได้อย่างต่ำ 55 points ก็พอ เพราะอีก 5 points รัฐแต่ละรัฐจะเป็นฝ่ายสปอนเซอร์เอง
    • Skilled Regional (subclass 489) เป็นการขอ PR โดยให้รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละรัฐ (town council) ที่อยู่แถบนอกเมืองใหญ่ (regional area) หรือญาติที่อยู่แถบนอกเมืองใหญ่ (regional area) สปอนเซอร์ในสาขาอาชีพที่รัฐบาลท้องถิ่นนั้นๆต้องการ การขอ PR ด้วย subclass นี้เราต้องทำ point ให้ได้ 50 points ก็พอ เพราะอีก 10 points รัฐบาลท้องถิ่นหรือญาติเราที่อยู่ regional area จะเป็นฝ่ายสปอนเซอร์เอง

    การขอวีซ่าประเภทของ Skilled Migrant เราจะสามารถขอได้ก็ต่อเมื่อเราจบการศึกษามาในสาขาอาชีพที่ทางรัฐบาลออสเตรเลียต้องการ ซึ่งทางรัฐบาลจะมี Skilled Occupation List; SOL ให้เราดู

    การขอ PR ของ Skilled Migrant เหมาะสำหรับคนที่มีวุฒิทางการศึกษาสูง Skilled Migrant เป็นที่ต้องการของรัฐบาลในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะพรรคการเมืองใหนเป็นรัฐบาลก็เถอะ 

    หลักในการคำนวณ point ของ Skilled Migrant มีดังต่อไปนี้

    point ทุกอย่างคำนวณตอนที่ทำ EOI และข้อมูลทุกอย่างต้องเอาวันที่จดหมายเชิญ letter of invitation เท่านั้น ข้อมูลตรงนี้สำคัญนะครับเพราะว่าคะแนนในเรื่องของอายุและวันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะถ้าจดหมายเชิญให้สมัครวีซ่าถูกส่งมาก่อนหรือหลังวันเกิดเราไม่กี่วันก็สามารถมีผลและปัจจัยต่อคะแนนของเราได้

    อายุ
    18-24; 25 points
    25-32; 30 points
    33-39; 25 points
    40-44; 15 points
    45-49; สามารถสมัคร Skilled Migrant ได้ แต่ไม่มี point ให้

    จะเห็นว่าคนที่มีอายุ 25-32 ปี จะได้ point สูงสุดคือ 30 points เพราะรัฐบาลถือว่าเป็นคนที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน ถ้ามีคนทำงานก็แสดงว่าเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของออสเตรเลีย และมีคนเสียภาษีเยอะด้วย ดังนั้นอายุไม่ใช่เพียงแต่ตัวเลขนะครับสำหรับ Skilled Migrant อายุนั้นสำคัญในการนับ point

    • Competent English; IELTS 6 (general)/OET B หรือเทียบเท่า, สามารถสมัคร Skilled Migrant ได้ แต่ไม่มี point ให้
    • Proficient English; IELTS 7 (general)/OET B หรือเทียบเท่า, 10 points
    • Superior English; IELTS 8 (general)/OET A หรือเทียบเท่า, 20 points

    ประสบการณ์การทำงานจากต่างประเทศ
    ประสบการณ์จากประเทศใหนก็ได้ ขอให้ไม่ใช่ประเทศออสเตรเลีย เพราะประสบการณ์จากประเทศออสเตรเลียจะมีการนับ point ที่แตกต่างกันออกไป

    ประสบการณ์ทำงานต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับสาขาอาชีพที่ทำเรื่องของ PR

    ประสบการณ์ต้องเป็นประสบการณ์หลังจากที่เรียนจบเท่านั้น

    ประสบการณ์ต้องเป็น 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ขึ้นไป (ซึ่งแตกต่างจากการทำ Direct Entry ของวีซ่า subclass 186/187)
    • 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 5 points
    • 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 10 points
    • 8-10 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 15 points

    ดังนั้นถ้าเราทำงานที่ใหนก็อย่าลืมขอจดหมายผ่านงานเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยนะครับ จดหมายผ่านงาน (work reference) ที่ใช้ในประเทศออสเตรเลียไม่ต้องลงค่าแรงนะครับ ลงข้อมูลแค่ตำแหน่งว่าเราทำงานในตำแหน่งอะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง และเริ่มทำงานจากวันที่เท่าไหร่ ถึงวันที่เท่าไหร่

    ประสบการณ์การทำงานที่ประเทศออสเตรเลีย
    ประสบการณ์ทำงานต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับสาขาอาชีพที่ทำเรื่องของ PR

    ประสบการณ์ต้องเป็นประสบการณ์หลังจากที่เรียนจบเท่านั้น

    ประสบการณ์ต้องเป็น 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ขึ้นไป (ซึ่งแตกต่างจากการทำ Direct Entry ของวีซ่า subclass 186/187)

    • 1 ปี แต่น้อยกว่า 3 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 5 points
    • 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 10 points
    • 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 15 points
    • 8-10 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 20 points

    การศึกษา
    จากประเทศใหนก็ได้แต่ต้องได้มาตฐานของประเทศออสเตรเลีย สถาบันการศึกษาทุกสถาบันของเมืองไทยได้มาตฐานของประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นคนที่เรียนจบจากเมืองไทย ไม่ต้องกังวลในจุดนี้ ประเทศที่จะมีปัญหาก็จะเป็นประเทศ Philippines อะไรประมาณนี้

    การศึกษาเรานับ point เอาการศึกษาที่สูงที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่เราขอก็ตาม

    • ปริญญาเอก; 20 points
    • ปริญญาตรี-ปริญญาโท; 15 points
    • Diploma, ปวช-ปวส; 10 points

    เรียนที่ประเทศออสเตรเลีย
    เรียนอะไรก็ได้ที่ประเทศออสเตรเลียที่ course การเรียนเป็นหลักสูตรเวลาเรียนอย่างต่ำ 2 ปี โดยที่ไม่นับช่วงที่เรียนภาษาอังกฤษ, 5 points

    โบนัส point ต่างๆ
    • สอบผ่านภาษาต่างประเทศ อย่างเช่นภาษาไทยเป็นต้น ที่รับรองโดย NAATI, ต้องสอบเป็นล่าม หรือ นักแปลระดับ paraprofessional level ขึ้นไป, 5 points
    • Skill assessment ของ partner ในสาขาอาชีพอะไรก็ได้ ที่อยู่ใน occupation list, อายุต่ำกว่า 50 ปี, ภาษาอังกฤษ IELTS general, overall 6 (หรือเทียบเท่า), 5 points
    • Professional year, 5 points
      • IT
      • Accounting
      • Engineering
    • เรียนที่ประเทศออสเตรเลียในสถาบันที่อยู่ regional area, 5 points

    ก็แนะนำให้ทุกคนลองคำนวณ point ของตัวเองดูนะครับ



    Thursday, October 15, 2015

    Skilled Migrant, SkillSelect และ EOI คืออะไร


    Skilled Migrant คือกลุ่มคนทำงานที่มีทักษะ มีฝีมือ มีความรู้ ที่ทำงานเสียภาษีและพัฒนาประเทศ เป็นที่ต้องการของรัฐบาลออสเตรเลียเป็นอย่างยิ่ง ขั้นตอนแรกของ SkillSelect คือ EOI ซึ่งคนสมัครต้องกรอกข้อมูลเข้าไปในระบบ online 

    EOI; Expression of Interest คือขั้นตอนที่คนจะทำวีซ่าต้องยื่นข้อมูลเข้าไปว่าเรามี point มีคุณสมบัติครบมั๊ย

    ** เดี๋ยวคงจะได้เขียนเรื่อง point test เร็วๆนี้นะครับ อดใจนิด

    EOI ทำ online ได้อย่างเดียวนะครับ ไม่มีแบบฟอร์มแบบ paper-based นะครับ, EOI คือระบบที่ให้คนสมัครกรอกข้อมูลเพื่อประมวลผลตัวเองว่าตัวเองได้คะแนนกี่ point 

    ช่วงที่ทำ EOI เราจะแค่กรอกข้อมูลเฉยๆนะครับ ระบบจะไม่มีการให้ upload เอกสารใดๆทั้งสิ้น เพราะการ upload เอกสารนั่นจะเป็นการสมัครวีซ่าเลยโดยตรง แต่ EOI ไม่ใช่การสมัครวีซ่า, EOI เป็นแค่การประเมิณผลและคุณสมบัติคร่าวๆแค่นั้น

    EOI เป็นบริการที่ฟรี 

    EOI จะทำการคำนวณ point, และคนที่ได้คะแนนมากกว่า 60 points ก็จะถูกเชิญให้มาสมัครวีซ่า โดยจะได้รับ letter of invitation จากอิมมิเกรชั่น 

    Skilled Nominated subclass 190 และ Skilled Regional Sponsored, เอาแค่ 55 points นะครับ

    แต่สิ่งที่เราต้องระวังก็คือ
    • EOI, ไม่ใช่การสมัครวีซ่า ดังนั้นช่วงที่เรายื่น EOI เราจะไม่ได้ Bridging Visa อะไรเลย
    • ถ้าเรายื่นวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลียเป็น onshore เราก็จะได้ Bridging Visa หลังจากที่ยื่นวีซ่าแล้ว (Bridging Visa A หรือ C, แล้วแต่สถานภาพทางวีซ่าของเรา ณ ตอนนั้น)
    • เราจะสามารถยื่นวีซ่าได้หลังจากที่เราได้รับจดหมายเชิญแล้วเท่านั้น letter of invitation, ถ้าไม่ได้รับจดหมาย เราก็ยังสมัครไม่ได้ ดังนั้นคนใหนที่วีซ่ากระชั้นชิด วีซ่าใกล้หมดแล้ว ถ้าคิดจะยื่นวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลีย onshore ก็ต้องมีการเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆนะครับ
    • ก่อนที่จะยื่นวีซ่า เอกสารทุกอย่างต้องพร้อม พร้อมที่จะ upload เข้าไปในระบบ เพราะถ้าเราได้รับจดหมายเชิญ letter of invitation แล้วเราต้องสมัครวีซ่าภายใน 60 วัน และถ้าภายใน 60 วันเรายังไม่สมัคร ทางอิมมิเกรชั่นก็จะมีการส่งจดหมายเชิญมาอีกรอบเป็นรอบที่ 2 แต่รอบที่ 2 นี้จะเป็นการส่งจดหมายรอบสุดท้าย ถ้าเรายังไม่ได้สมัครอีกในรอบที่ 2 ภายใน 60 จดหมายเชิญก็ใช้ไม่ได้แล้ว เพราะจะมีวันหยุดอายุ expiry date ภายใน 60 วัน
    ถึงแม้ว่าจดหมายเชิญ letter of invitation หมดอายุแล้วรอบที่ 2 เราก็ยังสามารถทำ EOI ใหม่ได้อีกเรื่อยๆ ไม่มีจำกัด แต่ก็จะเป็นการเสียเวลา ดังนั้นถ้าใครที่กำลังเรียนอะไรอยู่และถ้าคิดจะทำ Skilled Migrant ไม่ว่าจะเป็น
    • Subclass 189; Independent Skilled Migrant
    • Subclass 190; Skilled Nominated
    • Subclass 489; Skilled Regional Sponsored

    ก็แนะนำให้เตรียมเอกสารเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆก็ได้ อย่างเช่น
    • police check ที่เมืองไทย
    • police check ของออสเตรเลียสำหรับคนที่ต้องการยื่นภายในประเทศออสเตรเลีย onshore
    • และก็เอกสารประจำตัวทั่วๆไป อย่างเช่นใบเกิด สูติบัตร อะไรประมาณนี้
    ข้อดีของ Skilled Migrant  คือเราสามารถสมัครได้ทั้งภายในประเทศออสเตรเลีย หรือภายนอกประเทศออสเตรเลีย และก็สามารถอยู่รอวีซ่าได้ทั้งในและนอกประเทศออสเตรเลียเช่นเดียวกัน

    ยื่นเรื่องที่เมืองไทยแล้วเข้ามารอวีซ่าที่ออสเตรเลียก็ได้ หรือ
    ยื่นเรื่องที่ออสเตรเลียแล้วกลับไปพักผ่อนแล้วรอเรื่องอยู่ที่เมืองไทยก็ได้

    ไม่ว่าจะสมัคร หรือรอเรื่อง onshore หรือ offshore มีค่าเท่ากัน
    Skilled Migrant มันดีอย่างนี้นี่เอง จะสมัครที่ใหน จะรอที่ใหนได้หมด อย่างที่ได้กล่าวเอาไว้เบื้องต้นว่า Skilled Migrant นั้นเป็นที่ต้องการของรัฐบาลออสเตรเลียเป็นอย่างยิ่ง...