ให้คำปรึกษาและบริการทางด้านกฎหมายอิมมิเกรชั่น และวีซ่าออสเตรเลีย
Facebook page: J Migration Team วีซ่าออสเตรเลีย
John Paopeng จอห์น เผ่าเพ็ง
Registered Migration Agent (MARN: 0851174)
Wollongong, Sydney, Melbourne, Brisbane, Gold Coast, Adelaide, Canberra.
email: jpp168.immi@outlook.com
PO Box 5399, Wollongong, NSW 2520
Monday, December 20, 2021
Partner Visa: quote ราคา
Partner Visa, ราคาค่าบริการ professional service fee (no refund) ของเรา แต่ละ case ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ความยากง่าย
แล้วแค่คดีและประวัติอาชญกรรมของคนสมัครหรือคนสปอนเซอร์
เพราะคนที่เข้ามาหาเรามีผ่านโลกอันโชกโชนมาแล้วทั้งนั้น
เพราะที่ case ง่าย ๆ เขาก็ทำกันเองอยู่แล้ว
เราจะไม่ quote ราคาของเราจนกว่าเราได้เห็น police check ของทั้งคนสมัครและคนสปอนเซอร์
เรามี 8 คำถามส่งให้ potential ลูกค้าเสมอ
8 คำถามนั้นต้องตอบมาก่อนครับ เราถึงจะ quote ราคาให้ได้
เราไม่ quote ราคาอะไรจากปากเปล่า
เพราะเราเคยโดนมาแล้วที่บอกว่าตัวเองไม่มีคดี ไม่มีประวัติอาชญกรรม
แต่พอทำ police check ออกมาแล้วมี criminal record 2 หน้ากระดาษ A4 ซึ่งเราคิดว่ามันไม่แฟร์กับเราและทีมงาน เพราะคนสมัครหรือคนสปอนเซอร์ที่มี criminal record ความยากมันยากมากถึงมากที่สุด มันต้อง spend time ในการทำ case แล้วเราก็ไม่เคย charge ลูกค้าเพิ่มกับเวลาที่เราต้อง spend เพิ่มเข้าไป บริษัทเราไม่ค่อย charge อะไรหยุมหยิม ปวดหัว เรา charge เป็น case เป็น package ไปเลย
ใครที่สนใจทำ case กับเราก็ทำ police check เอาไว้เลยครับ
1 ใน 8 คำถามที่เราส่งไป ก็จะมีการบอกการทำ police check ด้วย
ถ้าทำไม่ได้ก็บอกเรา เราก็จะมี video clip การทำ police check ด้วย ง่าย ๆ ไม่ยาก
บริษัทของเราทำงานเป็นแบบนี้ครับ
ที่อื่นทำแบบไหน เราไม่รู้
แต่เราสะดวกแบบนี้
#JMigrationTeam
#MARN0851174
Sunday, December 19, 2021
Student Visa offshore; same-sex
"น้องอีกไม่นาน" กับ "น้องนานแค่ไหน" เป็นคู่รักเพศเดียวกัน
ตอนนี้น้องอยู่เมืองไทยด้วยกันทั้งคู่
น้องทั้งสองต้องการทำขอวีซ่านักเรียนและก็ทำเรื่องมาพร้อมกัน ไม่อยากแยกกันมา ไม่อยากอยู่แยกกัน
เนื่องด้วยเมืองไทย คู่รักเพศเดียวกันยังไม่สามารถแต่งงานกันได้ แต่เราก็สามารถยื่นมาด้วยกันแบบ de facto ได้
เราแนะนำให้ "น้องอีกไม่นาน" และ "น้องนานแค่ไหน" ยื่นเรื่องพร้อมกัน ไม่ต้องยื่นแยกหลายที ปวดหัว แต่น้องทั้งสองต้องมีเอกสารยืนยันความสัมพันธ์ว่าเป็น partner กันจริง ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันจริง ไม่ใช่แค่แฟนจีบกันไปจีบกันมา
น้องทั้งสองจะต้องโชว์ว่าน้องทั้งสองมี commitment การใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ตกล่องปล่องชิ้น ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร
เอกสารร่วมกันที่น้องทั้งสอง "น้องอีกไมานาน" กับ "น้องนานแค่ไหน" ควรมีคือ:
- บัญชีคู่ที่เปิดร่วมกันเกิน 12 เดือน
- อยู่บ้านหลังเดียวกัน มีชื่อในทะเบียนบ้านเดียวกันเกิน 12 เดือน
- หรือถ้าอยู่ condo หรือเช่า condo ก็มีชื่อร่วมกัน ค่าน้ำ ค่าไฟ นั่น นี่ โน่น เกิน 12 เดือน บางคนอยู่หอด้วยกันช่วงที่เรียนด้วยกันเกิน 12 เดือนก็ใช้ได้ครับ
ก็แค่นี้แหละ หลักฐานในการแสดงความสัมพันธ์ของคู่รักเพศเดียวกัน สำหรับคู่ที่ยังไม่ได้แต่งงานหรือแต่งงานกันไม่ได้นะครับ เพราะเมืองไทยยังแต่งงานแบบเพศเดียวกันไม่ได้ ล้าหลังไปนิสต์ อาจจะ busy ปลูกผักชีอยู่ หรือตัดสินใจอยู่ว่าจะขึ้นทางด่วนดีหรือไม่ หรือว่าจะเลี้ยงไก่ 2 ไว้กินไข่ดี อย่าเพิ่งฆ่าไก่
anyway, ไม่ว่าจะอะไร ยังไง ก็ตามแต่ เราขอเอาใจช่วยทุกคนจ๊ะ
ขอให้ไปให้ถึงฝั่งฝัน
วีซ่านักเรียน ถ้าทำเรื่อง เราก็แนะนำให้ทำเรื่องมาพร้อมกันเลยครับ ไม่ต้องแยกกันมา ขี้เกียจยื่นเรื่องหลายรอบ ทำทีเดียวให้มันจบ ๆ ไปเลย และคู่รักก็จะไม่ได้แยกกันอยู่ด้วย
สู้ ๆ นะจ๊ะ "น้องอีกไม่นาน" กับ "น้องนานแค่ไหน"
Friday, December 10, 2021
Partner Visa; Domestic Violence จักรวาลนฤมิต
Sunday, December 5, 2021
Skill Assessment: Restaurant Manager
2. Advanced diploma in Management
3. Advanced diploma in Marketing and Communication
4. Master of Professional Accounting หรือแม้แต่
Friday, December 3, 2021
Bridging Visa E
Bridging Visa E นั้นเป็น Bridging Visa อีก Bridging Visa ที่มีประโยชน์ต่อสถานะภาพของเรา
ในกรณีที่ทางอิมมิเกรชั่นมีการเข้าไปจับคนที่ไม่มีวีซ่า คนที่อยู่แบบผิดกฏหมาย ปกติทางอิมมิเกรชั่นก็จะออก Bridging Visa E ให้ได้เลยทันที เราไม่ต้องไปขอที่อิมมิเกรชั่น เจ้าหน้าที่ที่ทำการจับเรา สามารถออก Bridging Visa E ได้เลยตอนนั้น ถ้าเขามีคอมพิวเตอร์นะ หรือไม่เขาก็ต้องโทรเข้ามาที่อิมมิเกรชั่น) แล้วก็เราจัดการเรื่องตั๋วเครื่องบิน หรือเก็บข้าวของกลับประเทศ คืออย่างน้อย เราก็ถือวีซ่าอะไรสักอย่าง ไม่ได้วีซ่าขาดแล้ว เพราะคนต่างด้าวทุกคนอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียต้องมีวีซ่าอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะถ้าไม่มีวีซ่า ถือว่าอยู่แบบผิดกฏหมาย
อย่างน้อยถ้าเจ้าหน้าที่ออก Bridging Visa E ให้เรา ณ ตอนนั้น อย่างน้อยก็ถือว่าเราถือวีซ่า อย่างใดอย่างหนึ่งละ ไม่ได้อยู่อย่างผิดกฏหมาย ไม่มีวีซ่า หรือวีซ่าขาด
และอีกอย่างก็คือ ถ้าเราได้ Bridging Visa E แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องโดนจับไปที่ศูนย์กักกัน พราะถ้าเราโดนจับไปที่ศูนย์กักกัน มันก็จะมีค่าใช้จ่ายมีเพิ่มเข้ามา ที่รัฐบาลของออสเตรเลียจะต้องออกจ่ายไปก่อน แล้วค่อยมาเก็บกับรัฐบาลไทยทีหลัง ซึ่งเสียทั้งเวลาและเป็นภาระของรัฐบาลทั้ง 2 ฝ่ายเปล่า ๆ
ข้อดีของการได้ Bridging Visa E ก็คืออย่างน้อยเวลาได้ Bridging Visa E เราก็ยังสามารถอยู่บ้านไม่ต้องโดนกักกัน ได้เก็บข้าวเก็บของ เตรียมตัวเดินทางกลับประเทศ ไม่ต้องรีบร้อนอะไรมากมาย
Bridging Visa E:
1. ถ้าเราทำผิดวีซ่า condition แล้วโดนยกเลิกวีซ่า แต่เราก็ยังสามารถถือ Bridging Visa E เพื่ออยู่รอผลวีซ่าตัวใหม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น วีซ่านักเรียน ทำเรื่องวีซ่าแต่งงาน แล้วไม่อยากไปเรียน เมื่อเราปล่อยให้โรงเรียนแจ้งอิมมิเกรชั่น แล้วยกเลิกวีซ่าเราไปเลย แล้วเราก็ทำเรื่องขอ Bridging Visa E เพื่อที่จะอยู่รอวีซ่าแต่งงานของเราได้ ไม่มีปัญหาอะไร ประหยัดตังค์ ไม่ต้องไปเรียนก็ได้
2. ถ้าเราวีซ่าขาด ถ้าเราไม่อยากอยู่ที่นี่แล้ว เราอยากจะกลับเมืองไทยแล้ว เราก็สามารถทำได้ด้วยการไปทำเรื่องขอ Bridging Visa E ที่อิมมิเกรชั่นที่ใหนก็ได้ พอเราได้ Bridging Visa E เราก็สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ ซื้อตั๋วกลับประเทศไทยได้เลย
คือถ้าเราวีซ่าขาด ถ้าอยู่มาวันหนึ่งอยากจะกลับประเทศไทย ก็ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆแล้วไปซื้อตั๋วเครื่องบิน แล้วเดินดุ่ม ๆ ไปที่สนามบินนะครับ จริง ๆ แล้วก็ทำได้ แต่ก็จะกลายเป็นเรื่อง เพราะเราไม่มีวีซ่า เดี๋ยวเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นก็ต้องมาสัมภาษณ์ นั่น นี่ โน่น ดีไม่ดีอาจจะไม่ทันขึ้นเครื่องก็ได้ วีธีที่ดีที่สุดก็คือไปขอ Bridging Visa E ก่อน แล้วค่อยไปซื้อตั๋วเครื่องบินกลับเมืองไทย แบบนั้นจะได้ไม่มีปัญหาที่สนามบิน จะได้เดินทางออกได้เลย เดินทางด้วยความราบรื่น
3. ถ้าวีซ่าปัจจุบันเรามีปัญหา จะด้วยอะไรก็ตามแต่แล้วยื่นเรื่องอุทรณ์ AAT (Administrative Appeals Tribunal) ไม่ทัน ปกติแล้ว case officer ก็จะไม่ใจร้ายเท่าไหร่ เราก็จขอ Bridging Visa E ได้ เพราะขอฟรี ทางเจ้าหน้าที่หรือ case officer จะออก Bridging Visa E ให้เราก็ต่อเมื่อ เรารู้ว่าเราจะยื่นวีซ่าตัวใหม่ภายใน 3-5 วัน
โดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่า Bridging Visa E เป็น Bridging Visa อีกตัวหนึ่งที่ทำประโยชน์ได้หลายอย่างนะครับ จะคิดจะทำอะไรจะได้มีทางหนีทีไล่ได้ ก็ลองไปศึกษากันดู
Bridging Visa C
Bridging Visa C มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีคือ:
ข้อเสียคือ:
เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้ ไม่เหมือน Bridging Visa A ที่สามารถขอเป็น Bridging Visa B ทำเรื่องเดินทางออกนอกประเทศได้ Bridging Visa C ถ้าออกไปแล้วก็ออกไปเลย
จริง ๆ แล้ว เราคิดว่า ข้อดีมันมากกว่าข้อเสีย
ก็เราวีซ่าขาดมาตั้งนานสองนาน เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้อยู่แล้ว ถ้าออกไปก็โดน exclusion อีก คือเข้ามาอีกไม่ได้กี่ปี ๆ ก็ว่าไป ถ้าเราได้ Bridging Visa C แล้วเดินทางออกไปนอกประเทศไม่ได้ ก็ไม่เห็นเป็นไรหนิ อยู่ถือ Bridging Visa C เพื่อรอผลวีซ่าตัวใหม่ออก รออีกนิดหน่อยจะเป็นอะไรไป
Tuesday, November 30, 2021
Hepatitis B; ไวรัสตับอักเสบ B
Case ของเราที่ "J Migration Team" ผ่านทุก case ครับ
ได้ PR กันไปทุกคนสำหรับคนที่มี Hepatitis B หรือ ไวรัสตับอักเสบ B
ดังนั้นอยากจะให้ใจร่ม ๆ กัน
ผ่านหนะมันผ่านอยู่แล้วแหละ เพราะ Hepatitis B หรือ ไวรัสตับอักเสบ B มันไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร แต่คนที่เป็นจะต้องมีการรักษาและหาหมอตลอด ส่งผลตรวจตลอด พอผลตรวจเป็นที่น่าพอใจ วีซ่าก็ผ่านก็แค่นั้นเอง
Sunday, November 28, 2021
COVID-19 Concession; Subclass 482, Subclass 457
เพื่อเศรษฐกิจของประเทศจะได้ไปต่อ
การสร้างงานก็ต้องดำเนินต่อไป
การลดจำนวนคนขอเงินช่วยเหลือ ขอเงินสวัสดิการก็ต้องน้อยลง ต่าง ๆ นานา
สำหรับคนที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียอยู่แล้ว ที่ถือวีซ่าทำงานด้วยวีซ่า subclass 457 หรือ subclass 482 โดยเฉพาะคนที่ทำงาน:
1. เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข; health
2. เกี่ยวข้องกับอาหารและการท่องเที่ยว; hospitality และ
3. คนที่ทำงานอยู่ในเขตเมืองรอบนอก; regional
การเปลี่ยนแปลงนี้จะค่อย ๆ มีการประกาศออกมา
และจะมี pathway ไปเป็น PR สำหรับ:
1. คนที่คือวีซ่า subclass 482 อยู่แล้ว ถึงแม้จะอยู่ใน short-term list ก็ตาม
2. สำหรับคนที่ถือวีซ่า subclass 457 ที่อายุเกินกำหนด ก็จะมี pathway ไปเป็น PR ให้
ทางอิมมิเกรชั่นจะค่อย ๆ มีการประกาศและให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป
ตอนนี้ขอให้ทุกคน "ใจร่ม ๆ " กันไปก่อน จะกว่าจะมีการประกาศออกมาในครั้งต่อ ๆ ไป
ปัญหาทุกอย่างมีทางออกของมัน อย่าเพิ่ง give up
The Winner Never Quit
The Quitter Never Win.
Info as of 21 Nov 2021
COVID-19 concessions สำหรับวีซ่า subclass 485; Temporary Graduate Visa
เริ่มสมัครใหม่ได้: 01 July 2022
และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง
เริ่มจากวันที่ 01 Dec 2021 - 01 Jul 2022
จะมีการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้:
- Subclass 485 สำหรับคนที่เรียน Master degree by coursework ต่อไปจะสามารถขอได้ 3 ปี ให้เหมือนกับ Master degree by research
- Greatuate Work Stream ที่จบพวก College หรือ TAFE ต่อไปจะสามารถขอ subclass 485 ได้ 2 ปี แทน 1.5 ปี และไม่จำเป็นต้องเป็นสาขาอาชีพที่อยู่ใน occupation list
ก็ถือว่าเป็นข่าวที่ดีสำหรับวงการการศึกษานะครับ
การประกาศและการเปลี่ยนแปลงจะเริ่มค่อย ๆ implement ขึ้น
เริ่มจาก 01 Dec 2021
ก็รอประกาศจากอิมมเกรชั่นกันต่อไปนะครับ
ทุกอย่างเริ่มเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
As of 25 Nov 2021.
Friday, November 26, 2021
Bridging Visa B
Bridging Visa อย่างอื่นสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ แต่ไม่สามารถเดินทางกลับเข้ามาในประเทศออสเตรเลียได้ อย่างเช่น Bridging Visa A, Bridging Visa C หรือ Bridging Visa E
ปกติแล้ว Bridging Visa B ก็จะเป็น Bridging Visa ต่อเนื่องจาก Bridging Visa A, เพราะ Bridging Visa ตัวอื่น ๆ ไม่สามารถขอ Bridging Visa B เพื่อเดินทางออกนอกประเทศได้
Bridging Visa B โดยความรู้สึกส่วนตัวแล้ว เป็นวีซ่าให้เปล่า คือ 99.99% อย่างไรก็ขอได้ ขอให้จ่ายค่าสมัครมาเถอะอะไรประมาณนี้ เพราะว่า Bridging Visa ตัวอื่น ๆ จะไม่มีค่าสมัครเลย ทางอิมมิเกรชั่นสามารถออกให้ได้เลย ก็มีแต่ Bridging Visa B นี่แหละที่ต้องจ่ายค่าสมัคร
Bridging Visa B ปกติแล้วเจ้าหน้าที่ที่ counter สามารถออกให้ได้เลยภายใน 5 นาที ถ้าเป็นที่ซิดนีย์ก็สามารถถือฟอร์มแล้วไปยื่นได้เลย เจ้าหน้าที่ก็จะโทรถาม case officer ว่า case เราใกล้จะออก ใกล้จะ finalize อะไรหรือยัง ถ้าไม่ใกล้ finalize ปกติแล้วก็เดินทางออกได้ ซึ่ง Bridging Visa B ก็สามารถเดินทางเข้าออกได้ถึง 3 เดือน
ถ้า case เราใกล้จะ finalise แล้ว เขาก็จะชะงักการออกวีซ่าของเรา แล้วให้เราเดินทางกลับเข้ามาก่อน แล้ว case officer ถึงจะ finalise วีซ่าของเรา
แต่การขอ Bridging Visa B นั้นเราก็ต้องให้เหตุผลด้วยว่าทำไมเราถึงจะต้องเดินทางออกนอกประเทศ ถ้าจะบอกว่า ไปเที่ยวอะไรประมาณนี้ก็อาจจะดูกระไรอยู่ ไม่เหมาะสม เราก็แนะนำให้บอกไปว่า กลับบ้านไปเยี่ยมพ่อแม่ อะไรก็ว่าไปนะครับ
Bridging Visa A
ถ้าเรายื่นขอวีซ่า Substantive visa (วีซ่าทุกอย่างที่ไม่ใช่ Bridging Visa) ภายในประเทศออสเตรเลีย เราก็จะได้ Bridging Visa A โดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะคนที่สมัคร online พอเราจ่ายตังค์เสร็จ click submit ปุ๊บ เราก็จะได้ Bridging Visa A เลยทันที
ดังนั้นหลาย ๆ คนที่มีภาวะล่อแหลมวีซ่าใกล้หมด เราไม่แนะนำให้ยื่นวีซ่าเป็นแบบ paper-based เพราะถ้าเป็น paper-based กว่าจะยื่น แล้วกว่าจะจ่าย 2-3 วันถึงจะถึงมือเจ้าหน้าที่ แล้วถึงจะได้ Bridging Visa A
แต่ถ้ายื่น online พอเรา click จ่ายตังค์ และ click submit ปุ๊บ ก็ได้ Bridging Visa A มาเลยทันที โดยเฉพาะคนที่วีซ่าจะหมด ถ้าเรารีบ submit อะไรก็ตามก็รีบ ๆ submit เข้าไปก่อนเที่ยงคืน ที่เหลือแล้วค่อย upload เอกสารเข้าไปก่อนก็ได้
ดังนั้นถ้าใครสามารถขอวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลีย onshore ได้ ก็แนะนำให้ขอภายในประเทศออสเตรเลีย เพราะเราจะได้ Bridging Visa A
โดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่า Bridging Visa A เป็นสิ่งที่ดี เพราะเราสามารถรอผลวีซ่าของเราอยู่ภายในประเทศออสเตรเลีย ไม่ต้องออกไปรอนอกประเทศ
Visa condition ของ Bridging Visa A นั้นไม่ตายตัวนะครับ กฎของ Bridging Visa A มีอยู่ว่า visa conditions ของ Bridging Visa A จะตาม visa conditions ของตัว substantive visa ตัวล่าสุดที่เราถือ ก็ประมาณว่า visa conditions อะไรเก่าที่เรามีอยู่ เราก็จะ continue visa condition นั้น ๆ ไป
วีซ่าตัวเก่าบางตัวก็อนุญาตให้เราทำงานได้ บางตัวก็ไม่อนุญาตให้เราทำงาน คนใหนที่มีวีซ่าอนุญาตให้เราทำงานได้ก็ดีไป
ก็เอาเป็นว่า เราก็ต้องดู visa conditions ของเราให้ดี ๆ
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับ Bridging Visa A ที่ทุกคนควรจะรู้ก็คือ:
1. ถึงแม้ว่า Bridging Visa A จะได้มาโดยอัตโนมัติ Bridging Visa A จะไม่ take affect หรือมีผลใช้จนกว่า วีซ่าเก่า วีซ่า substantive จะหมดอายุ ดังนั้นวีซ่าอะไรที่เรามีอยู่แล้ว substantive visa เราก็ต้องทำตาม visa conditions ของวีซ่าตัวนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วีซ่านักเรียน เราก็ต้องยังคงไปเรียนตามปกติ จนกว่าวีซ่านักเรียนจะหมด เพราะถ้าเราไม่ไปเรียน ทางโรงเรียนก็สามารถแจ้งอิมมิเกรชั่น และอิมมิเกรชั่นก็สามารถยกเลิกวีซ่าเราได้ เราก็จะกลายเป็นคนที่อยู่ที่นี่โดยผิดกฏหมาย; unlawful non-citizen แต่เราก็มีวิธีแก้ปัญหานี้ได้ครับ...
2. Bridging Visa A ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ เพราะจุดประสงค์ของ Bridging Visa A คืออยู่รอวีซ่าที่ประเทศออสเตรเลีย ถ้าเราจะเดินทางออกนอกประเทศเราก็ต้องขอ Bridging Visa B
3. สาเหตุที่ Bridging Visa A ถึงแม้ว่าเราจะได้มาโดยอัตโนมัติ แต่ไม่ take affect จนกว่าวีซ่า substantive visa ตัวเก่าจะหมดไป ก็เพราะว่าคนคนหนึ่งจะสามารถมีวีซ่าได้แค่ 1 วีซ่าเท่านั้น คือไม่สามารถถือ 2 วีซ่า (หรือมากกว่า) ได้ภายในเวลาเดียวกัน ดังนั้นเวลาที่เรายื่นเรื่องขอวีซ่าภายในออสเตรเลีย แล้วได้ Bridging Visa A มา เราก็อย่าเพิ่งรีบดีใจ เราต้องรอให้วีซ่าตัวเดิมเราหมดสะก่อน
Wednesday, November 24, 2021
01 Dec 2021; ประเทศค่อย ๆ เปิด
เมื่อเศรษฐกิจของประเทศต้องก้าวเดินต่อไป
พร้อมหรือไม่พร้อม ประเทศก็ต้องมีการเปิดพรมแดนให้คนได้เดินทางเข้าออก ไม่งั้นเศรษฐกิจก็จะพัง หลาย ๆ คนก็ anxious กับการต้องอยู่แยกกันกับครอบครัว นักเรียนหลาย ๆ คนที่ต้องเรียน online ซึ่งมันเป็นอะไรที่ไม่ work กับการจ่ายค่าเรียนแพง ๆ แล้วต้องมาเรียน online เรียนผ่าน Zoom ถ้าจะเรียนแบบนั้น เรียนฟรี ๆ ที่ไหนก็ได้ มีเยอะแยะ ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเรียนแพง ๆ หรอก
Nov 2021: คนที่สามารถเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลียได้ โดยที่ไม่ต้องขอ Travel Exemption คือคนที่เป็น PR, Citizen, Eligible New Zealander และคนในครอบครับ; พ่อ แม่ และลูก
สำหรับคนที่ถือวีซ่าชั่วคราว (Temporary Visa) เริ่มวันที่ 01 Dec 2021 ก็จะสามารถเดินทางเข้าประเทศได้แล้ว ถ้าฉีดวัคซีนครบ
แต่ละรัฐมีกฎและข้อบังคับของการกักตัวที่แตกต่างกันออกไป
ณ วันที่ 22 Nov 2021; รัฐที่ไม่ต้องกักตัวคือ NSW, VIC และ ACT
อันนี้คือเท่าที่เราทราบนะครับ รัฐอื่น ๆ เราไม่มีเวลาติดตามข่าว ๆ จริง เพราะเขา update กันรายวัน ข้อมูลมันเยอะมาก
เริ่มวันที่ 01 Dec 2021, คนที่ถือวีซ่าชั่วคราวที่สามารถเดินทางเข้าออกประเทศออสเตรเลียโดยไม่ต้องขอ Travel Exemption คือ:
Subclass 200 – Refugee visa
Subclass 201 – In-country Special Humanitarian visa
Subclass 202 – Global Special Humanitarian visa
Subclass 203 – Emergency Rescue visa
Subclass 204 – Woman at Risk visa
Subclass 300 – Prospective Marriage visa
Subclass 400 – Temporary Work (Short Stay Specialist) visa
Subclass 403 – Temporary Work (International Relations) visa (other streams, including Australian Agriculture Visa stream)
Subclass 407 – Training visa
Subclass 408 – Temporary Activity visa
Subclass 417 – Working Holiday visa
Subclass 449 – Humanitarian Stay (Temporary) visa
Subclass 457 – Temporary Work (Skilled) visa
Subclass 461 – New Zealand Citizen Family Relationship visa
Subclass 462 – Work and Holiday visa
Subclass 476 – Skilled – Recognised Graduate visa
Subclass 482 – Temporary Skill Shortage visa
Subclass 485 – Temporary Graduate visa
Subclass 489 – Skilled – Regional (Provisional) visa
Subclass 491 – Skilled Work Regional (Provisional) visa
Subclass 494 – Skilled Employer-Sponsored Regional (Provisional) visa
Subclass 500 – Student visa
Subclass 580 – Student Guardian visa (ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น subclass 590)
Subclass 590 – Student Guardian visa
Subclass 785 – Temporary Protection visa
Subclass 790 – Safe Haven Enterprise visa
Subclass 870 – Sponsored Parent (Temporary) visa
Subclass 988 – Maritime Crew visa
AstraZeneca Vaxzevria
AstraZeneca Covishield
Pfizer/Biontech Comirnaty
Moderna Spikevax
Sinovac Coronavac
Bharat Biotech Covaxin
Sinopharm BBIBP-CorV (for 18-60 year olds).
Johnson & Johnson/ Janssen-Cilag COVID Vaccine.
Tuesday, November 16, 2021
Student Agent บอกว่าเรียนตัวนี้แล้วขอ PR ได้
น้อง "ไข่ย้อย" มีความฝันที่จะเป็นพลเมืองของประเทศออสเตรเลีย
น้องถือวีซ่านักเรียน เรียนและสานฝันตามที่ทาง student agent ของน้องบอก
แต่ปัญหาคือ... แล้วเราจะรู้ได้ไงหละว่าวิชาหรือ course ที่ทาง student agent เลือกหรือแนะนำให้น้องเรียนนั้น มันสามารถต่อยอดและขอวีซ่าเพื่อเป็นคนหรือพลเมืองขอที่นี่ได้จริง
ก่อนอื่นเลย เราต้องแยกกันให้ออกก่อนว่า
- เรียนอะไรแล้วหางานทำได้ง่าย นั้น "อาจจะ" ไม่เหมือนกันกับ
- เรียนอะไรแล้วมีโอกาสต่อยอดได้ PR/Citizen
ถ้า student agent บอกว่า "เรียนตัวนี้แล้วสามารถขอ PR ได้" สิ่งที่น้องไข่ย้อยควรทำคือ ให้ student agent ของน้องไข่ย้อยเขียนเป็น roadmap ออกมาเลย ว่าหลังจากเรียนจบวีซ่านักเรียน subclass 500 แล้ว น้องไข่ย้อยต้องไปขอวีซ่าอะไรต่อ subclass อะไร ใช้เวลากี่ปี
อย่างน้อยก็เอาแบบคร่าว ๆ มาก็ยังดี
ไม่ต้องละเอียดเป๊ะเหมือนที่ทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์เขาทำกัน
ทำออกมาเป็น step เลย; 1-2-3-4
เราจะได้มองเห็นภาพที่ชัดเจน
ไม่เอาแบบพูดปากเปล่า ลอย ๆ เป็นแค่ลมปาก
ทำเป็น roadmap มา
เขียนมาใน email หรือ MS-Word แล้วเราจะได้เก็บเอาไว้เป็น reference ได้
แล้วเราจะได้เอา roadmap ตัวนี้ไปขอ 2nd opinion กับคนอื่นได้
เป็นกำลังใจให้กับทุกคนครับ
ปัญหามันมีทางออกแหละ
ปัญหามันมีเอาไว้แก้
ค่อย ๆ แก้กันไปทีละเปราะ เดี๋ยวก็ได้ เดี๋ยวก็เจอ
Friday, October 8, 2021
Subclass 482; ผลการเรียน 5 ปี ภาษาอังกฤษ
ไม่ต้องสอบภาษาอังกฤษ เพราะมีผลการเรียน 5 ปีตามตาราง
1. หวังว่า post นี้น่าจะตอบคำถามหลาย ๆ คนเรื่อง general English course
2. ตุ้มจิ้มเรียน bachelor degree ไม่จบก็ไม่เป็นไร ขอแค่หนังสือรับรองจาก college ว่าเรียนจากวันที่เท่าไหร่ และลาออกวันที่เท่าไหร่
Friday, October 1, 2021
วีซ่าขาด Partner Visa; TR และ PR
จากวีซ่าขาด สู่ PR
วีซ่าขาด กลับไปยื่น Partner Visa ที่เมืองไทย ได้กลับมาทุกคน ก็ยังย้ำอีกต่อไปว่า "ได้กลับมาทุกคน"
และไม่ต้องรอ 3 ปีด้วย
กลับไปแล้ว ยื่นเรื่องกลับเข้ามาใหม่ได้เลย
ใครจะวีซ่าขาดด้วยอะไรก็ตามแต่ เราไม่ judge ใครทั้งสิ้น
We are here to help.
ขอเพียงแค่เชื่อใจ และทำตามที่เราบอก:
1. ช่วงที่อยู่ด้วยกันที่นี่ เก็บเอกสารร่วมกันให้เยอะที่สุด ทำตามที่เราบอก มเอกสารให้ตามที่เราขอ
2. ก่อนเดินทางออกนอกประเทศ ขอ Bridging Visa E ก่อน เพื่อที่จะได้ไม่ได้โดนสัมภาษณ์ นั่น นี่ โน่นที่สนามบิน
3. เท้าแตะถึงพื้น ก็ยื่นเรื่องได้เลยทันที; subclass 309 (TR)
4. รอประมาณ 9-14 เดือน; case-by-case
5. วีซ่าผ่าน TR, ก็บินเข้าประเทศได้เลยทันที มี Medicare, ทำงานได้ full-time
6. เมื่อถึงเวลา ทีมงานเราจะ email ไปแจ้งเองว่าต้องยื่น PR แล้ว
ก็แค่นั้นเอง
ทำให้แทบทุกอย่าง คงเหลือแต่จะป้อนข้าวป้อนน้ำนี่แหละ
ขอบคุณที่เลือกใช้บริการของเรา
สินค้าดีใช้แล้วช่วยบอกต่อ
ขอบคุณที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ "ครอบครัว J"
ครอบครัวเล็ก ๆ ไม่เลือกเฉพาะคนรู้ใจ ไม่เลือกเอาใครเข้ามาในครอบครัวง่าย ๆ รักกันแบบพี่น้อง
ก็ต้องถามคนที่เคยใช้บริการดูหนะจ๊ะ ว่าเป็นยังไง
สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น
Wednesday, September 29, 2021
Subclass 407 หรือ Subclass 408
ป้าคำดอกงิ้วกับป้านิตยา สองเพื่อนรักหักเหลี่ยม แม่ค้าขายน้ำพริกแห่งเมืองสยาม
ป้าทั้งสองต้องการหาข้อมูลเรื่องวีซ่าให้กับหลานสาวของป้าซึ่งอยู่ที่ออสเตรเลีย น้องรัดเกล้ายอด
น้องรัดเกล้ายอดตอนนี้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ถือวีซ่านักเรียนและขายของออนไลน์ไปด้วย น้องขายน้ำพริกหางกุ้งและน้ำพริกตาดำ ต่าง ๆ นานาของทั้งป้าคำดอกงิ้วและป้านิตยา ใครชอบสินค้าตัวไหนติดต่อน้องรัดเกล้ายอดได้
ธุรกิจขายน้ำพริกออนไลน์ของน้องไปได้สวย น้องยังไม่พร้อมที่จะกลับไปเมืองไทยตอนนี้ ถึงแม้ว่าน้องจะคิดถึงลูกชิ้นยืนกินมากก็ตาม น้องก็ยังอยากที่จะอยู่ที่นี่อีกสักนิด ก่อนที่กลับจะเมืองไทย
โชคดีที่น้องรัดเกล้ายอดทำงานอยู่ใน critical sector:
- Agriculture; อุตสาหกรรมการเกษตร- Food processing; อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
- Healthcare; งานที่เกี่ยวกับสาธารณสุข
- Aged care; ดูแลผู้สูงวัย
- Disability care; ดูแลคนพิเศษ
- Childcare; ดูแลเด็ก
- Tourism and hospitality; อาหาร การโรงแรม และการท่องเที่ยว
น้องสามารถขอวีซ่า subclass 408; COVID Stream ได้นานถึง 12 เดือนและก็สามารถต่อได้อีก (ถ้า COVID ยังอยู่กับพวกเรา)
และงานที่น้องทำ นอกจากจะอยู่ใน critical sector ที่สามารถขอ subclass 408 ได้แล้ว งานของน้องยังอยู่ในสาขาอาชีพที่สามารถขอวีซ่า subclass 407; Training Visa วีซ่าฝึกงานซึ่งน้องก็สามารถขอได้นานถึง 2 ปีด้วย
สรุปคือน้องสามารถขอได้ทั้ง subclass 407 และ subclass 408
งั้นเรามาดูความแตกต่างระหว่างวีซ่า 2 ประเภทนี้กัน
ข้อดีและข้อเสีย เพื่อที่ป้าคำดอกงิ้วและป้านิตยาจะไปเอาข้อมูลนี้ไปประมวลผลและปรึกษาหารือกับน้องรัดเกล้ายอดต่อไป
subclass 408 ที่สามารถออกได้นานถึง 12 เดือนในช่วง COVID
ถ้าเราทำงานอยู่ใน critical sectors ในช่วง COVID-19 pandemic:
- Agriculture; อุตสาหกรรมการเกษตร
- Food processing; อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
- Healthcare; งานที่เกี่ยวกับสาธารณสุข
- Aged care; ดูแลผู้สูงวัย
- Disability care; ดูแลคนพิเศษ
- Childcare; ดูแลเด็ก
- Tourism and hospitality; อาหาร การโรงแรม และการท่องเที่ยว
subclass 408 สามารถทำงานได้ full-time
ไม่ต้องสอบ IELTS
ไม่ต้องใช้ bank statement (เพราะใช้สัญญาจ้างงานแทน)
subclass 408 สามารถต่อได้อีก จนกว่าสถานการณ์ COVID จะดีขึ้น จนกว่าจะมีการประกาศออกมาใหม่จากอิมมิเกรชั่น
หรือสำหรับใครที่ต้องการอยู่ต่อ ทำงานเก็บตังค์ นี่ก็เป็นอีกหนึ่ง subclass ที่เราสามารถขอได้ช่วง COVID-19 นะครับ ถ้าเราทำงานอยู่ใน critical sector ใน 7 sectors ด้านบน
ก็ลองดูนะครับ
เป็นอีกหนึ่งทางเลือก
ก็ดีกว่าจ่ายค่าเทอมไม่ใช่เหรอ???
มันก็เหมือนเป็นวีซ่าฝึกงานดี ๆ นี่เอง
วีซ่าตัวนี้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับหลาย ๆ คน เพราะ requirement ของวีซ่าตัวนี้ไม่ได้ยากจะอะไรมากมาย แต่เราก็อยากจะให้ทุกคนเลือกวีซ่าตัวนี้ด้วยความระมัดระวัง
เพราะวีซ่าตัวนี้ไม่มีกฎหมายบังคับว่านายจ้างต้องจ่ายค่าแรงเราเท่าไหร่ เพราะนี่คือวีซ่าฝึกงานเท่านั้น
มันไม่ใช่วีซ่าทำงาน
ดังนั้นเราอาจจะได้วีซ่า 2 ปีก็จริง แต่ถ้าทำงานหรือฝึกงานโดยที่ไม่ได้ค่าแรงเลย เราจะกลายเป็น modern slaves หรือเปล่า
เราอยากจะให้ทุกคนคิดและไตร่ตรองให้ดี ๆ นะครับ
แต่ถ้าหากนายจ้างหรือองค์กรที่จะทำเรื่อง train หรือฝึกงานให้เรา มีการจ่ายค่าแรงที่ถูกต้อง นั่นก็ถือว่า OK
มันก็จะเป็นอะไรที่ Win-Win ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
เพราะประสบการณ์การทำงานตอนที่ถือวีซ่า subclass 407, ถ้ามีการจ่ายค่าแรงอะไรที่ถูกต้อง และมีการเสียภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย เราก็สามารถนำเอาประสบการณ์การทำงานตรงจุดนี้มาต่อยอดในการทำวีซ่าตัวอื่น ๆ ได้ด้วย
วีซ่า subclass 407 ไม่ได้จำกัดอายุของคนสมัคร ขอให้อายุ 18 ขึ้นไปก็ใช้ได้แล้ว
และภาษาอังกฤษเองก็ requires แค่ IELTS (general) overall 4.5
หรือถ้าเรียนพวก college หรือ TAFE full-time ที่ประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา 1 ปี ก็สามารถเอามาเทียบเท่ากับ IELTS overall 4.5 ได้
subclass 407 เป็นวีซ่า 2 ปี
แต่ขอไป 2 ปีอาจจะได้มาแค่ 1 ปีก็มี หรือไม่ก็ refuse ไปเลย
เพราะ 407 เป็นวีซ่าฝึกงาน บางคนก็ประสบการณ์เยอะแล้ว มันไม่มีอะไรที่จะต้องมาฝึกกันแล้ว อย่างนี้เป็นต้น
และ Training Plan ก็เป็นอะไรที่ละเอียดมาก
ต้องเขียนอธิบายเป็นราย week เลยว่า แต่ละ week ต้อง train ต้องฝึกอะไรกันบ้าง
1 ปี มี 52 weeks ก็ต้องอธิบายว่า 52 weeks นั้นหนะ จะต้องฝึก จะต้อง train อะไรกัน
Sunday, September 26, 2021
ทำงานประเทศออสเตรเลีย
การที่เราจะมาทำงานที่ประเทศออสเตรเลียนั้น
1. ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับกรมแรงงานที่เมืองไทยเลย ที่นี่ประเทศออสเตรเลีย ไม่ใช่ซาอุ (ก็ไม่รู้ว่าซาอุยังไปได้อยู่หรือเปล่านะ หลังจากคดีเพชรซาอุ)
2. ต้องมีนายจ้างสปอนเซอร์ ถามตัวเองด้วยว่า เรามีนายจ้างที่พร้อมที่จะทำเรื่องสปอนเซอร์หรือยัง
3. สาขาอาชีพจะต้องอยู่ใน list ที่ทางรัฐบาลต้องการ เราก็ต้องมาดูว่า subclass 482, มีสาขาอะไรบ้าง subclass 494 มีอะไรบ้าง
4. Subclass 407; Training Visa คือวีซ่าฝีกงาน ไม่ใช่วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ โปรดแยกกันให้ออก ลองไล่อ่าน post เก่า ๆ ดู
5. ประสบการณ์ในการทำงานในสาขาอาชีพนั้น ๆ เรามีหรือเปล่า
6. ผลสอบภาษาอังกฤษเรามีหรือยัง subclass 482 ต้องใช้ผลสอบภาษาอังกฤษเท่าไหร่, subclass 494 ต้องใช้ผลสอบภาษาอังกฤษเท่าไหร่ อันนี้เราก็ต้องศึกษาหาข้อมูลด้วย
ความ "อยาก" อย่างเดียวไม่พอครับ
เราต้องหาข้อมูลด้วย
inbox/LINE บรรทัดเดียวสั้นว่า "อยากไปทำงานที่ออสเตรเลีย" เราก็ไปไม่ถูกเหมือนกัน จะให้มานั่งถาม 1-2-3-4-5 ข้างบนเราคงไม่มีเวลา
ข้อมูลหลาย ๆ อย่างอยู่ที่หน้า page แล้ว
ข้อมูลหลาย ๆ อย่างอยู่ที่ blog แล้ว
ลองทำการบ้านกันมาก่อนนิสต์นึงนะครับ
ใครไปเข้าคิวซื้อลูกชิ้นยืนกิน ซื้อมาฝากด้วยนะครับ
กินคนเดียว... ปาบ!!!
PAYG
เนื่องด้วยนายจ้างหลาย ๆ ที่ตอนนี้ใช้ระบบ Single Touch Payroll (STP) payment กันแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี มันทำให้ระบบอะไรต่าง ๆ streamline กันหมด
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่นายจ้างไม่ได้ออก PAYG หรือ Group Certificate ทุกวันที่ 30 June อีกต่อไป
ไม่มี PAYG ไม่เป็นไรครับ
ให้เราใช้ "income statement" จาก ATO แทน
ลูกจ้างทุกคนสามารถ login เข้าระบบ MyGov และ ATO ได้
แล้ว download "income statement"
ข้อดีของ PAYG/Income Statement คือ:
- มันไม่ได้บอกตำแหน่งงานที่เราทำ
ดังนั้นถ้าเราอยากได้ตำแหน่งอะไร
เราก็ให้นายจ้างออก "work reference" หรือจดหมายผ่านงานให้สิ
อยากได้ตำแหน่งอะไรหละ ก็เขียนเอา
ตำแหน่งงานต้องตรงกับสาขาอาชีพที่เราขอวีซ่า
ฝากเอาไว้ให้คิดนะครับ :)
Note: ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ถ้าต้องการแชร์ ให้แชร์จากต้นโพสต์ไปเลยครับ
Sunday, September 19, 2021
Xero: Payslip
ที่ "J Migration Team" เราใช้ Xero ในการ run payroll
เรา run payroll ทุก ๆ วันอาทิตย์ (ความชอบส่วนตัว เพราะว่างวันอาทิตย์) ให้กับทีมงานของเรา
ที่ Xero จะมี option ให้นายจ้าง email payslip ไปให้ลูกจ้างทุกคน
คือมันแค่ click เดียวเองนะ
มันง่ายมาก
ดังนั้นการที่นายจ้างบางที่บอกว่า ตอนนี้ ATO ให้ใช้ระบบ Single Touch Pay (STP) ลูกจ้างสามารถดู PAYG และ Super ที่เข้าไปในระบบ ATO/MyGov ได้เอง ไม่จำเป็นต้องมี payslip นั้นมันฟังไม่ขึ้นจริง ๆ
เพราะสมัยนี้ ยุค 5G เขาไม่ต้อง print payslip ออกมากันแล้ว
มันแค่ just 1 click away, แล้วระบบของ Xero หรือไม่ว่าจะเป็น Quickbooks หรือ MYOB ก็จะส่ง payslip ไปให้ลูกจ้างทาง email
การที่นายจ้างไม่ให้ payslip แก่ลูกจ้าง จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่
มันฟังไม่ขึ้นจริง ๆ
เลิกเถอะข้ออ้างอะไรต่าง ๆ นานา มันฟังไม่ขึ้น
Wednesday, September 15, 2021
Subclass 482 & Subclass 408; น้องชฎากับน้องยืนกิน
"น้องชฎา" กับ "น้องยืนกิน" เป็นคู่รักกัน จด register of relationship
ทั้งคู่ถือวีซ่านักเรียน subclass 500 โดยที่น้องชฎาเป็นตัว main applicant
และน้องยืนกินเป็นคนติดตาม
น้องชฎาเรียน Cert IV Commercial Cookery + Diploma of Hospitality Management และจะทำวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ Subclass 482 TSS; Temporary Skill Shortage Visa
Note: ไม่ต้องลงเรียน Advanced Diploma ให้เสียตังค์
ทุกอย่างก็ดูเหมือนจะง่าย
แต่น้องยืนกินเจ้ากรรมก็ดันมีหุ้นส่วนอยู่ในร้านอาหารนั้น
รายชื่อก็อยู่ใน ASIC record ซึ่งเราจะต้อง submit ด้วยหนะสิ
น้องยืนกินเป็น share holder ไม่ได้เป็น 1 ใน directors แต่เวลา submit ASIC record, มันก็มีชื่อน้องยืนกินอยู่ดี ซึ่งมันก็จะมีปัญหาตอนยื่น stage 2 Nomination ของ subclass 482 ได้
สมาชิกในครอบครัวของคนสมัครสามารถเป็น director หรือ shareholder ได้ แต่มันก็ต้องมานั่งอธิบายเหตุและผลอีกต่าง ๆ นานา ซึ่งก็มีความเสี่ยง
ทำไมเราจะต้องเสี่ยงด้วยหละ ถ้าเราสามารถหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงได้ เราก็ควรจะทำ
เนื่องด้วยร้านอาหารก็อยู่ใน critical sector ที่เราสามารถยื่น Subclass 408; COVID Stream ได้ อย่างน้อยก็ได้มา 1 ปี เพราะวีซ่า subclass 408 ของ COVID Stream, case officer ไม่ค่อยเช็คอะไรเยอะ ที่ผ่านมาเราก็ยื่นผ่านหมดทุก case
เราก็เลยต้องจับน้อง 2 คนให้ยื่นวีซ่าคนละ subclass กัน
1. น้องชฎา ยื่นวีซ่า subclass 482 แต่เพียงผู้เดียว ไม่ต้องมีผู้ติดตาม
2. น้องยืนกิน ยื่นวีซ่า subclass 408 แต่เพียงผู้เดียว แยกกันยื่น
วีซ่าของน้องทั้ง 2 คนผ่านครับ
น้องชฎาได้วีซ่า subclass 482 มา 4 ปี
น้องยืนกินได้วีซ่า subclass 408 มา 1 ปี
แล้วเราค่อยมาทำเรื่องให้น้องยืนกินมาทำเรื่องติดตามน้องชฎาทีหลัง
เป็นไง เก๋มั้ย
ต๊าชชชชชชชมั๊ย
สูตรไขว้ยิ่งกว่าการฉีดวัคซีนอีก
ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้
ปัญหามีเอาไว้แก้
แก้กันไปทีละเปราะ
ศึกษารู้เท่าทัน
ทุกอย่างมีทางออก
ต้องคิดต่าง
คิดจะทำเรื่องวีซ่าออสเตรเลีย โปรดใช้ทนายความ Legal Practitioner หรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่มี MARN เท่านั้น
ขอบคุณที่เลือกใช้บริการของเรา
สินค้าดีใช้แล้วช่วยบอกต่อ
Monday, September 13, 2021
Citizenship; someone closer to my heart
มันคือความฝันอันสูงสุดของหลาย ๆ คน
วันศุกร์ วันเดียวกัน เรามีคนใน "ครอบครัว J" รับ citizenship ถึง 4 คน 3 ที่
QLD 1 คน ที่ QLD ยังสามารถเข้ารับแบบตัวเป็น ๆ ได้
NSW Wollongong 1 คน เข้ารับผ่าน video call, ผ่าน MS-Teams
VIC 2 คน เข้ารับผ่าน Zoom, พี่ 2 คนนี้เค๊ายื่น citizenship กันเอง
เราขอแสดงความยินดีกับทุก ๆ คนด้วยนะครับ
ทุก ๆ คนผ่านเรื่องราวที่แตกต่างกัน
บางคนก็เกือบโดนดับฝันเพราะเผลอออกไปขับรถนิดเดียวหลังจากที่จิบไวน์ไป คือขับไปนิดเดียวจริง ๆ ไม่ได้ไกลจากบ้านเลย แตก็โดนเป่าหลอด เกือบสิ้นหวังเหมือนกัน
แต่เราสู้ สู้จนวินาทีสุดท้าย
ขึ้นศาล AAT จนชนะ
เราดีใจด้วยกับทุก ๆ คนที่เดินทางมาถึงจุดนี้กันได้
บางคนก็ผ่านเรื่องราวชีวิตมาเยอะ
โดนกดขี่ข่มเหง ต่าง ๆ นานา
บางคนก็โดนบอกว่าให้เก็บกระเป๋ากลับบ้านเถอะ เพราะคงสอบภาษาอังกฤษไม่ผ่าน
แต่เราก็ช่วยขอ PR ให้จนได้ ด้วย subclass 186 ที่ใช้ผลการเรียน 5 ปีก็มี
กับหนทางที่บางทีอาจจะดูเหมือนลิบหลี่
อย่าเพิ่งท้อ
ท้อมีเอาไว้ให้ลิงถือ
ลองศึกษา
ลองปรึกษาใครซักคนดู มันอาจจะมีหนทาง
เราดีใจที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการพลิกผันสถานการณ์หลาย ๆ ครั้ง
ทุกความฝัน
ทุกเป้าหมาย
เราทำได้ถ้าเราไม่ย่อท้อ
ทุกสิ่งอย่างในชีวิต
มี way ของมัน
เหนื่อยได้
ท้อได้
แต่อย่าหยุด
Note: ขโมยรูปมาใช้ แต่มั่นใจว่าเจ้าของรูปคงไม่ว่าอะไร... oops!!!
Sunday, September 5, 2021
2nd subclass 485 สำหรับคนที่เรียนอยู่ที่ regional area
- ถ้าเรียนอยู่ Category 2: Designated city or major regional centre แล้วช่วงที่ถือ subclass 485 ตัวแรก อยู่อาศัยอยู่ที่ Category 2: Designated city or major regional centre แบบนี้เราได้จะ 2nd subclass 485 มา 1 ปี
- ถ้าเรียนอยู่ Category 3 - Regional centre or other regional area แล้วช่วงที่ถือ subclass 485 ตัวแรก อยู่อาศัยอยู่ที่ Category 2: Designated city or major regional centre แบบนี้เราได้จะ 2nd subclass 485 มา 1 ปี
- ถ้าเรียนอยู่ Category 2: Designated city or major regional centre แล้วช่วงที่ถือ subclass 485 ตัวแรก อยู่อาศัยอยู่ที่ Category 3 - Regional centre or other regional area แบบนี้เราได้จะ 2nd subclass 485 มา 1 ปี
- ถ้าเรียนอยู่ Category 3 - Regional centre or other regional area แล้วช่วงที่ถือ subclass 485 ตัวแรก อยู่อาศัยอยู่ที่ Category 3 - Regional centre or other regional area แบบนี้เราได้จะ 2nd subclass 485 มา 2 ปี
Category 2: Designated city or major regional centre มี postcode ดังต่อไปนี้
Category 3 - Regional centre or other regional area มี postcode ดังต่อไปนี้
VIC: 3097 ถึง 3099, 3139, 3233 ถึง 3234, 3236 ถึง 3239, 3241 ถึง 3325, 3329, 3334, 3341, 3345 ถึง 3424, 3430 ถึง 3799, 3809 ถึง 3909, 3912 to 3971 และ 3978 ถึง 3996
QLD: 4124 ถึง 4125, 4133, 4183 ถึง 4184, 4280 ถึง 4287, 4306 ถึง 4498, 4507, 4552, 4563, 4570 และ 4580 ถึง 4895
WA: ทั้งหมดที่ไม่ได้อยู่ใน category 2
SA: ทั้งหมดที่ไม่ได้อยู่ใน category 2
TAS: ทั้งหมดที่ไม่ได้อยู่ใน category 2
NT: ทั้ง NT
Other territories: ทุก postcode ที่ไม่ได้อยู่ใน ACT, NT หรือ Norfolk Island